การวิเคราะห์อุปสงค์ และอุปทานโคเนื้อในประเทศไทย
รุ่งรัตน์ สังข์ศร
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เศรษฐศาสตร์เกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541. 132 หน้า
2541
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1. ศึกษาถึงสภาพการผลิต การตลาด และการบริโภคโคเนื้อในประเทศ2. เพื่อสร้างแบบจำลองทางเศรษฐมิติ สมการอุปสงค์ และอุปทานโคเนื้อ3. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของตัวแปรนโยบายที่มีต่ออุปสงค์ และอุปทานโคเนื้อ
จากการศึกษาพบว่า ความยืดหยุ่นของอุปทานโคขุนเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาซากอุ่นโคขุนที่เกษตรกรได้รับ และราคาขายปลีกอาหารข้นโคเนื้อ มีค่าเท่ากับ 0.1791 และ –0.9158 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์โคขุนเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาซากอุ่นโคขุนที่เกษตรกรได้รับ รายได้ประชาชาติต่อหัว และราคานำเข้าเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ มีค่าเท่ากับ –8.1299, 1.5164 และ –0.0238 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของการนำเข้าเนื้อโคไม่ติดกระดูกจากต่างประเทศเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคานำเข้าเนื้อโคไม่ติดกระดูก และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชาวต่างประเทศ มีค่าเท่ากับ –0.2797 และ 2.1073 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของการนำเข้าโคเนื้อไม่ติดกระดูกจากต่างประเทศเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคานำเข้าเนื้อโคไม่ติดกระดูก และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชาวต่างประเทศ มีค่าเท่ากับ –1.1825 และ 1.9523 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของอุปทานโคธรรมดามีชีวิตเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาโคธรรมดามีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ และจำนวนโคธรรมดามีชีวิตเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาราคาโคธรรมดามีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ และจำนวนโคธรรมดามีชีวิตต้นปี (stock) ย้อนหลัง 2 ปี มีค่าเท่ากับ 0.1612 และ 0.7813 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์โคธรรมดามีชีวิตเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาโคธรรมดามีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ รายได้ประชาชาติต่อหัว และส่วนต่างระหว่างราคาขายส่งเนื้อโคชำแหละที่ตลาดกรุงเทพฯ กับราคาโคธรรมดามีชีวิตที่เกษตรกรขายได้มีค่าเท่ากับ –0.0737, 0.2138 และ 0.0749 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของอุปทานเนื้อเขียงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาขายส่งเนื้อโคธรรมดาชำแหละ ณ ตลาดกรุงเทพฯ และราคาโคธรรมดามีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ มีค่าเท่ากับ 0.8407 และ –0.287 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์เนื้อเขียงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาขายส่งเนื้อโคธรรมดาชำแหละ ณ ตลาดกรุงเทพฯ รายได้ประชาชาติต่อหัว และราคาขายส่งเนื้อสุกรชำแหละ ณ ตลาดกรุงเทพฯ มีค่าเท่ากับ –0.095, 0.1586 และ 0.1566 ตามลำดับ ความยืดหยุ่นของอุปทานลูกชิ้นเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาลูกชิ้น มีค่าเท่ากับ 0.4575 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ลูกชิ้นเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาลูกชิ้น รายได้ประชาชาติต่อหัว และดัชนีราคาผู้บริโภค มีค่าเท่ากับ –1.4923, 0.3773 และ 0.711 ตามลำดับ
ฉะนั้นในการลดราคาซากอุ่นโคขุนจะทำให้อุปสงค์โคขุนมีปริมาณเพิ่มขึ้น และในการเพิ่มอุปทานโคขุนนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมการผลิตน้ำเชื้อโคพันธุ์ดี (สายเลือดยุโรป) และมีการวิจัยด้านอาหารเพื่อให้ต้นทุนค่าอาหารข้นขุนมีราคาต่ำลง