เวลาและคุณภาพเนื้อสุกรแช่แข็งด้วยวิธีการแช่เยือกแข็งแบบเพลทสัมผัส
นงลักษณ์ สุทธิวนิช
รายงานการวิจัย ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา, 2529 . 54 หน้า
2529
บทคัดย่อ
การประมาณระยะเวลาการแช่เยือกแข็งแบบเพลทสัมผัสจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเนื้อสุกร โดยใช้สูตรที่ดัดแปลงจากสมการของแพลงค์ได้ผลดีเมื่อทดลองปฏิบัติกับเนื้อสุกรส่วนขาหน้า ขาหลังและเนื้อสันนอก แต่ไม่ได้รับผลดีในส่วนเนื้อสามชั้น ผลการตรวจสอบคุณภาพหลังการแช่เยือกแข็งพบว่า ระยะเวลาในการเก็บมีผลต่อความชื้น การสูญเสียน้ำ ค่าเพอร์ออกไซด์ กรดไทโอบาร์บิทิวริค กรดไขมันอิสระ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด และ Staphlococcus spp. และการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นรสชนิดของชิ้นส่วนเนื้อมีผลต่อการสูญเสียน้ำ ค่าแสดงความหืนที่ตรวจโดยวิธีทางเคมี และคุณภาพในการบริโภค