การยืดอายุการเก็บรักษาข่า โดยากรใช้ปริมาณสารดูดซับเอทธิลีนร่วมกับสัดส่วนของก๊าซ CO2:O2
กุลศิริ อดิเรกลาภ และสมชาย กล้าหาญ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 35 ฉบับที่ 5-6 (พิเศษ) สิงหาคม-ธันวาคม 2547. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 4. หน้า 313-317.
2547
บทคัดย่อ
การยืดอายุการเก็บรักษาข่า โดยากรใช้ปริมาณสารดูดซับเอทธิลีนร่วมกับสัดส่วนของก๊าซ CO2:O2
การศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษาข่าโดยการใช้สารดูดซับเอทธิลีน ร่วมกับสัดส่วนของก๊าซ CO2:O2 โดยวางแผนการทดลองแบบ 5x5 factorial in completely randomized design เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปริมาณสารดูดซับเอทธิลีน 0, 2, 4, 6 และ 8 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักสด และสัดส่วนของก๊าซ CO2:O2 5:0, 10:5, 10:10, 15:5 และ 15:10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) ปรากฏว่าข่าจะมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น โดยข่าที่เก็บรักษาในสารดูดซับเอทธิลีน 2 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ CO2:O2 15:5 PSI จะมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดมากที่สุด คือ 3.59 เปอร์เซ็นต์ ข่าที่เก็บรักษาในสารดูดซับเอทธิลีน 0 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ CO2:O2 10:10 PSI และสารดูดซับเอทธิลีน 8 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ CO2:O2 15:10 PSI จะมีปริมาณ TSS มากที่สุด คือ 4.33 brix สีเปลือกมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อยจาก TG 20 C-20 D เป็น YG 18 B-20 D ส่วนคะแนนคุณภาพการรับประทานจะอยู่ในช่วง 1.33-3.67 คะแนน การทดลองครั้งนี้พบว่าข่าที่เก็บรักษาในสารดูดซับเอทธิลีน 6 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ CO2:O2 15:5 PSI และสารดูดซับเอทธิลีน 4 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ CO2:O2 10:10 PSI มีคุณภาพดีที่สุด มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดน้อยที่สุด และมีอายุการเก็บรักษานานที่สุดคือมากกว่า 35 วัน