Antibacterial Activity of Water and Alkaloid Extracts from Coscinium fenestratum
ฤดีวรรณ ตั้งประดิษฐ์ สรศักดิ์ เหลี่ยวไชยพันธุ และ สุรีย์ ฟูตระกูล
การประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2547 ของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. “นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ : หนึ่งทางเลือกเพื่อยกระดับสู่ครัวของโลก12-15 ธันวาคม พ.ศ. 2547. ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก. หน้า 58.
2547
บทคัดย่อ
Antibacterial Activity of Water and Alkaloid Extracts from Coscinium fenestratum
แห้ม(ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium fenestratum (Gaerth.) Colebr.) เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศศรีลังกา อินเดีย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยนำลำต้นแห้งที่ฝานเป็นแผ่นหรือบดเป็นผง มาต้มกับน้ำ เพื่อดื่มรักษาโรคต่างๆ จุดประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาว่าระหว่างสารสกัดจากน้ำและสารสกัดอัลคาลอยด์จากต้นแห้ม สารสกัดใดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่ากัน โดยใช้ Disc diffusion technique เพื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ S.auresu, E.coli และP.aeruginosa จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากน้ำไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ E.coli และ P.aeruginosa ส่วนสารสกัดอัลคาลอยด์ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ P.aeruginosa เพียงชนิดเดียว ในการทดสอบการยับยั้งการเจริญของ S.aureus พบว่า สารสกัดอัลคาลอยด์มีพื้นที่ในการยับยั้งการเจริญกว้างกว่าสารสกัดจากน้ำ ดังนั้นจึงสรุปว่าสารสกัดอัลคาลอยด์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียดีกว่าสารสกัดจากน้ำ ควรมีการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดทั้งสองโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ หาความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของสารที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพ (MIC) และหาความเข้มข้นที่น้อยที่สุดของสารที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ 99.9% เป็นอย่างน้อย (MBC) เพิ่มเติมในการทดลองครั้งต่อไป