บทคัดย่องานวิจัย

Isolation of hemicellulose from raw papaya peel and determination of its constituent sugars

วิรงรอง ทองดีสุนทร และ ภาวิณี คณาสวัสดิ์

การประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2547 ของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. “นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ : หนึ่งทางเลือกเพื่อยกระดับสู่ครัวของโลก12-15 ธันวาคม พ.ศ. 2547. ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก. หน้า 99.

2547

บทคัดย่อ

Isolation of hemicellulose from raw papaya peel and determination of its constituent sugars

เปลือกมะละกอดิบถูกทำให้แห้งที่ 60°C เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เปลือกแห้งถูกกำจัดองค์ประกอบอื่นๆ ของเซลล์โดยแช่ในเอธานอล 30 นาที 3 ครั้ง เฮมิเซลลูโลสถูกสกัดด้วยโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ 2 ครั้งๆ ละ 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง สารโมเลกุลเล็กถูกกำจัดออกจากสิ่งสกัดด้วยไดอะไลซีสจนกระทั่งค่าการนำไฟฟ้าน้อยกว่า 3mS เฮมิเซลลูโลสที่ได้จากการทำแห้งสารละลายที่สกัดด้วย 1 และตามด้วย 4 M KOH โดยไลโอฟิไลเซชันให้ผลผลิต 4 และ 3% น้ำหนักเปลือกแห้ง ตามลำดับ พันธะไกลโคไซด์ของเฮมิเซลูโลสถูกสลายโดยเทธาโนไลซีสในกรดที่ 100°C 8 ชั่วโมง วิเคราะห์อนุพันธ์เมทิลของน้ำตาลองค์ประกอบของเฮมิเซลูโลสโดย HPLC ซึ่งใช้คอลัมน์ Zorbax carbohydrate (ขนาด 4.6 x 250 มม.) และตรวจวัดด้วยรีแฟรกทีฟอินเดกซ์ น้ำตาลองค์ประกอบของเฮมิเซลลูโลสถูกชะออกจากคอลัมน์ด้วยสารละลายอะซิโตไนไตรล์และน้ำ (75:25 โดยปริมาตร) เฮมิเซลลูโลสของเปลือกมะละกอประกอบด้วยกาแลคโตสประมาณ 30% มีกลูโคส ไซโลส แมนโนส และอะราบิโนสรวมกันน้อยกว่า 1% อีกประมาณ 69% เป็นน้ำตาลหนึ่งชนิดที่อยู่ในระหว่างการตรวจพิสูจน์