บทคัดย่องานวิจัย

การออกแบบ สร้างและประเมินผลเครื่องเก็บเกี่ยวลำไยต้นแบบ

เสมอขวัญ ตันติกุล

การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. หน้า 1. (666 หน้า)

2547

บทคัดย่อ

การออกแบบ สร้างและประเมินผลเครื่องเก็บเกี่ยวลำไยต้นแบบ ในการออกแบบ สร้าง และประเมินผลเครื่องเก็บเกี่ยวลำไยต้นแบบ ได้ทำการออกแบบโดยนำระบบไฮดรอลิกส์มาใช้ในระบบขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนตำแหน่งของกระเช้า การควบคุมการทำงานโดยผู้ปฏิบัติงานอยู่บนกระเช้า ระดับความสูงของกระเช้าเมื่อทำงานสูงสุดเท่ากับ 9.15 เมตร เมื่อวัดจากพื้นดินถึงพื้นกระเช้า (ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้สูงถึง 11 เมตร) มีรัศมีการทำงาน 6.50 เมตร รอบตัวรถ ความเร็วในการยกกระเช้าขึ้นสูงสุด 0.20 เมตร/วินาที ความเร็วในการยกกระเช้าลงต่ำสุด 0.18 เมตร/วินาที ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของแท่นหมุน 30 วินาที/รอบ ความเร็วในการเคลื่อนที่ที่เกียร์สูงเท่ากับ 2.75 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วในการเคลื่อนที่ที่เกียร์ต่ำเท่ากับ 1.50 กิโลเมตร/ชั่วโมง สามารถขับเคลื่อนเดินหน้าและถอยหลังได้ มีรัศมีวงเลี้ยวแคบสุด 3.25 เมตร น้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่กระเช้า 201.5 กิโลกรัม อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 0.46 ลิตร/ชั่วโมง ใช้เครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียวขนาด 11 แรงม้า เป็นต้นกำลัง สามารถใช้ผู้ปฏิบัติงานสำหรับควบคุมเครื่องและเก็บผลไม้ 1-2 คน (ทำงานบนกระเช้าได้พร้อมกัน 2 คนได้) จากการทดสอบสมรรถนะการเก็บลำไยในภาคสนามของรถกระเช้าเก็บเกี่ยวลำไยต้นแบบ พบว่าเมื่อใช้ผู้ปฏิบัติงานบนกระเช้าเพียงคนเดียว มีอัตราการเก็บเฉลี่ย 161 กิโลกรัม/ชั่วโมง การสูญเสียจากการร่วงหล่นประมาณ 0.93 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพของผลลำไยที่ทำการเก็บในแต่ละวิธีพบความเสียหายเชิงกลน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บด้วยคน