การประเมินผลสมรรถนะกลไกการนวดทานตะวัน
สมโภชน์ สุดาจันทร์ และ Vilas M. Salokhe
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. เลขหน้า 146. (666 หน้า)
2546
บทคัดย่อ
การประเมินผลสมรรถนะกลไกการนวดทานตะวัน
การศึกษานี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุดนวดของเครื่องนวดทานตะวัน สมรรถนะการนวดวัดผลด้วยความสามารถในการทำงาน ประสิทธิภาพการนวด เมล็ดแตกหัก เมล็ดสูญเสีย ความสามารถในการแยกเมล็ดและวัสดุที่ไม่ใช่เมล็ด กำลังที่ใช้ในการนวดและพลังงานจำเพาะที่ใช้ ผลการศึกษาพบว่าลูกนวดแบบแถบเหล็กลูกฟูก มีความสามารถในการทำงานมากกว่าลูกนวดแบบซี่ลูกนวดทึบ และแบบซี่ลูกนวดโปร่ง โดยมีประสิทธิภาพการนวด 99% ลูกนวดแบบแถบเหล็กลูกฟูกใช้พลังงานจำเพาะน้อยกว่าลูกนวดแบบแถบเหล็กลูกฟูกทำให้ปริมาณวัสดุที่ไม่ใช่เมล็ดร่วงหล่นผ่านตะแกรงนวดน้อยกว่าการใช้ลูกนวดแบบซี่ เมื่อนวดทานตะวันที่อัตราการป้อน 3,000 กก.(ดอก)/ชม. และใช้ความเร็วลูกนวด 750 รอบ/นาที (10.9 ม./วินาที) ลูกนวดแบบแถบเหล็กลูกฟูกมีความสามารถในการทำงานและประสิทธิภาพการนวดมากกว่าลูกนวดแบบซี่และใช้พลังงานจำเพาะในการนวดน้อยกว่า