ผลของชนิดและมุมใบมีดที่มีต่อแรงที่ใช้กะเทาะเมล็ดกระบกในแนวแกน
สมโภชน์ สุดาจันทร์ สมนึก ชูศิลป์ และประสันต์ ชุ่มใจหาญ
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. เลขหน้า 162. (666 หน้า)
2546
บทคัดย่อ
ผลของชนิดและมุมใบมีดที่มีต่อแรงที่ใช้กะเทาะเมล็ดกระบกในแนวแกน
เมล็ดกระบกนาผิวร่อนและกระบกดอนถูกนำมาทดสอบการอัดกะเทาะในแนวแกนที่ตำแหน่งปลายเมล็ดโดยใช้ใบมีดตรงและใบมีดโค้งที่มีมุมคมใบมีด 20, 40, 60 และ 80 องศา เพื่อหาแรงอัดที่ทำให้เมล็ดกระบกทั้งเปลือกถูกผ่ากะเทาะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าใบมีดกะเทาะกระบกแบบใบมีดตรงและใบมีดโค้งใช้แรงกะเทาะไม่แตกต่างกันทางสถิติแต่มุมคมใบมีดกะเทาะมีผลต่อแรงที่ใช้กะเทาะอย่างมีนัยสำคัญโดยมีแรงอัดสูงสุดเฉลี่ยในแนวแกนที่ทำให้เปลือกกระบกนาและกระบกดอนถูกผ่ากะเทาะ 244-314 นิวตัน และ 198-356 นิวตัน ตามลำดับ เมื่อมุมใบมีดกะเทาะอยู่ระหว่าง 20-40 องศา การกะเทาะกระบกในแนวแกนและที่ตำแหน่งปลายเมล็ดด้วยใบมีดตรงและมุมใบปิดที่เหมาะสมสามารถลดแรงกะเทาะได้