บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาเครื่องเคลือบไขผลส้มเขียวหวาน

อังกูร เพ็งผาสุข และบัณฑิต จริโมภาส

การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4. วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. หน้า 168. 666 หน้า.

2546

บทคัดย่อ

การพัฒนาเครื่องเคลือบไขผลส้มเขียวหวาน งานวิจัยนี้เพื่อที่จะออกแบบ สร้าง ทดสอบ และประเมินผลเครื่องเคลือบไขผลส้มเขียวหวานที่มีประสิทธิภาพดี เครื่องต้นแบบเครื่องเคลือบไขผลส้มกว้าง 0.6 เมตร ยาว 6.0 เมตร ประกอบด้วย กระบะรับผลผลิต, ชุดลำเลียงผลส้ม, ชุดเคลือบไข, ชุดอบผิว และชุดเป่าลมแห้ง การทดสอบโดยกำหนดปัจจัยควบคุม 2 ตัวคือ ความเร็วรอบแปรงลูกกลิ้งของชุดเคลือบไข 3 ระดับ (120, 200 และ 280 รอบ/นาที) และความดันในการฉีดพ่นไข 3 ระดับ (1, 2 และ 3 บาร์) ตัวแปรที่ถูกพิจารณาคือ สมรรถนะการทำงานของเครื่อง, การใช้พลังงานไฟฟ้า, ความเสียหายเชิงกล, อัตราการใช้สารเคลือบผิว และเปอร์เซ็นต์ไขติดผิวผลส้ม ปรากฏว่าปัจจัยควบคุมที่เหมาะสมต่อการเคลือบไขผลส้มเขียวหวานคือ ความเร็วรอบแปรงลูกกลิ้ง 280 รอบ/นาที ที่ความดันในการฉีดพ่นไข 1 บาร์ ได้สมรรถนะการทำงาน 2.65 ตัว/ชม. ใช้พลังงานไฟฟ้า 2.85 หน่วย/ชม. เกิดความเสียหายเชิงกลกับผลส้ม 1.06% อัตราการใช้สารเคลือบผิว 8.26 ซม.3กก. และไขติดผิวผลส้มเฉลี่ย 94.73% การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ระบุว่า เมื่อใช้เครื่องทำงานปีละ 1,200 ชม. อัตราค่าจ้าง 1.10 บาท/กก. จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 205.5 ตัน/ปี ระยะเวลาในการคืนทุน 6 เดือน