เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนร่วมกับอินฟราเรด
กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ และอดิศักดิ์ นาถกรณกุล
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. เลขหน้า 230. (666 หน้า)
2545
บทคัดย่อ
เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนร่วมกับอินฟราเรด
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการอบแห้งแบบปั๊มความร้อนร่วมกับอินฟราเรดไกล โดยออกแบบ และติดตั้งแท่งรังสีอินฟราเรดขนาด 1.95 กิโลวัตต์ ในแนวตั้งฉากกับทิศทางการไหลของอากาศที่ผ่านการอบแห้งผ้าชุบน้ำ เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ได้ 12 ถาด (น้ำหนักผลิตภัณฑ์ 100-132 กิโลกรัม ทำการทดลองอบแห้งผ้าชุบน้ำแบบระบบปิด เพื่อประเมินสมรรถนะของเครื่องอบแห้ง พลังงานและเวลาที่ใช้ในการอบแห้ง โดยเปลี่ยนแปลงความชื้นเริ่มต้น อุณหภูมิควบคุมการเปิดปิดแท่งรังสีอินฟราเรด และอัตราการไหลของอากาศเข้าห้องอบแห้ง จากผลการทดลองพบว่า รังสีอินฟราเรดช่วยลดเวลาในการอบแห้งที่ความชื้นเริ่มต้นสูง และอัตราการไหลอากาศต่ำ แต่จะมีอิทธิพลน้อยลงเมื่ออัตราการไหลอากาศสูงขึ้น ส่วนการตั้งอุณหภูมิควบคุมการเปิดปิดแท่งรังสีอินฟราเรดต่ำกว่าอากาศอบแห้งประมาณ 8-10°C จะประหยัดพลังงานมากกว่าการตั้งอุณหภูมิควบคุมรังสีอินฟราเรดเท่ากับอุณหภูมิอากาศอบแห้ง ในขณะที่ใช้เวลาในการอบแห้งเท่าเดิม จากการทดลองทั้งหมดพบว่า ความชื้นเริ่มต้น 200 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานแห้ง อุณหภูมิอากาศอบแห้ง 51°Cอุณหภูมิควบคุมการเปิดปิดแท่งรังสีอินฟราเรด 41°C และอัตราการไหลอากาศ 858 กิโลกรัมต่อชั่วโมง รังสีอินฟราเรดช่วยลดเวลาในการอบแห้งได้มากที่สุด เท่ากับ 3 ชั่วโมง สิ้นเปลืองพลังงาน 3.69 เมกะจูลต่อกิโลกรัมน้ำที่ระเหย โดยมีค่าสมรรถนะของปั๊มความร้อนเท่ากับ 3.58