บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาการแผ่รังสีอินฟราเรดหลังการอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูอิไดซ์เบด

นเรศ มีโส อดิศักดิ์ นาถกรณกุล ฐานิตย์ เมธิยานนท์ และสมชาติ โสภณรณฤทธิ์

การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. เลขหน้า 242. (666 หน้า)

2546

บทคัดย่อ

การศึกษาการแผ่รังสีอินฟราเรดหลังการอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูอิไดซ์เบด  รังสีอินฟราเรด คือ แหล่งพลังงานที่สำคัญแหล่งหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ในการอบแห้งข้าวเปลือกได้ เพราะข้าวจะดูดกลืนพลังงานจากการแผ่รังสีอินฟราเรดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ความยาวคลื่นระหว่าง 2.9-9.5 mm และเกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาวะการสั่นสะเทือนโมเลกุลของน้ำกลายเป็นพลังงานความร้อนขึ้นภายในเมล็ดข้าว ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการแผ่รังสีอินฟราเรดที่มีผลต่อความชื้นและคุณภาพการสีของข้าวเปลือกในด้านปริมาณต้นข้าวและความขาวในกระบวนการอบแห้ง ซึ่งประกอบด้วยการอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด การแผ่รังสีอินฟราเรด การเก็บในที่อับอากาศ และการเป่าด้วยอากาศแวดล้อม จากผลการทดลองพบว่า การแผ่รังสีอินฟราเรดหลังการอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบดสามารถลดความชื้นของข้าวเปลือกลงถึง 21.5% d.b. โดยปริมาณต้นข้าวยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง แต่จะลดลงต่ำมากถ้าความชื้นลดลงต่ำถึง 20.5% d.b.