การอบแห้งข้าวเปลือกชื้นภายใต้สภาวะอากาศเขตร้อนชื้นในภาคสนาม
ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล สมเกียรติ ปรัชญาวรากร เคนอิชิ อิโอเอะ และสมชาติ โสภณรณฤทธิ์
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. เลขหน้า 255. (666 หน้า)
2545
บทคัดย่อ
ผลการทดลองพบว่า ค่าความชื้นของข้าวเปลือกหลังการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบด และการอบแห้งแบบคลุกเคล้าอยู่ในช่วงร้อยละ 16.0+1.5 มาตรฐานเปียก และร้อยละ 13.0+1.8 มาตรฐานเปียก ตามลำดับ สรุปได้ว่าการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เซชัน และการอบแห้งแบบคลุกเคล้าที่เหมาะสมทำให้ความชื้นของข้าวหลังกระบวนการอบแห้งมีกระจายอย่างสม่ำเสมอ
จากการศึกษาการลดความชื้นข้าวเปลือกชื้นในกระสอบพลาสติก เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิภายในกองข้าวอ้างอิงสูงถึงประมาณ 53+4°C และกองข้าวที่ลดความชื้นด้วยการเป่าด้วยอากาศแวดล้อมมีการระบายความร้อนจากการหายใจของเมล็ดพืชที่สะสมอยู่ ออกจากกองข้าวเปลือกได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกองข้าวที่ลดความชื้นด้วยซิลิกาเจลและกองข้าวอ้างอิง ในการทดลองนี้ไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในด้านสมบัติทางกายภาพในเทอมของความขาวและร้อยละข้าวเต็มเมล็ด สรุปได้ว่า การลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยการเป่าด้วยอากาศแวดล้อม เป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการชลอความเสื่อมคุณภาพของกองข้าวเปลือกที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการสะสมของความร้อน และความชื้นในกองข้าวเปลือกได้เป็นอย่างดี