การออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับตู้อบลมร้อนขนาดเล็ก
สมยศ เชิญอักษร และพงษ์ศักดิ์ เทียมทัน
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2546, วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ. เลขหน้า 383. (666 หน้า)
2546
บทคัดย่อ
การออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับตู้อบลมร้อนขนาดเล็ก
การศึกษานี้ได้ทำการออกแบบตู้อบแห้งลมร้อนอัตโนมัติขนาดเล็ก ขนาดห้องอบ 580x650x550 m3 ห้องทำความร้อนประกอบด้วยฮีตเตอร์ไฟฟ้า 220 V 500 Watt 3 ตัว และพัดลมไฟฟ้าแบบไหลตามแนวแกนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด 150 mm 220 V 2 ตัว ด้านบนของตู้อบมีประตูลมจำนวน 4 ประตู ปิดเปิดด้วยสเต็ปเปอร์มอเตอร์เพื่อบังคับทิศทางลมให้หมุนเวียนสลับทิศทางตรงข้ามได้ การควบคุมอุณหภูมิและทิศทางลมเป็นแบบอัตโนมัติผ่านชุดควบคุมที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นด้วยระบบควบคุมแบบ PID ผ่านการ์ดรับส่งสัญญาณอินพุดเอาท์พุดแบบ 8 บิต ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับพอร์ต ISA ของคอมพิวเตอร์และโปรแกรมควบคุมเขียนจากโปรแกรม Visual Basic การทดลองการทำงานองระบบควบคุม PID สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตามต้องการ โดยได้ทำการทดลองวัดความเร็วในการเข้าถึงอุณหภูมิ ที่อุณหภูมิ 50, 70 และ 90°C ทำเวลาได้ 700, 1100 และ 1000 วินาที ตามลำดับ การประเมินประสิทธิภาพตู้อบลมร้อน ใช้การวัดอัตราการระเหยน้ำในถาด เป็นเวลา 3 ชั่วโมง โดยที่อุณหภูมิ 50, 70 และ 90°C มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 2.07, 3.41 และ 4.42 kW h มีอัตราการระเหยน้ำจำเพาะเฉลี่ย 0.36, 0.33 และ 0.34 kg/kW h ตามลำดับ