การตรวจเช็ครอยแตกร้าวของเปลือกไข่จากสัญญาณเสียง
เอกสิทธิ์ ศรีธรรม และ Vinod K. Jindal
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4. วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วันที่ 13-14 มีนาคม 2546. ณ เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. เลขหน้า 583. (666 หน้า)
2546
บทคัดย่อ
การตรวจเช็ครอยแตกร้าวของเปลือกไข่จากสัญญาณเสียง
เทคนิคการตรวจเช็ครอยแตกร้าวของเปลือกไข่แบบไม่ทำลายได้รับการพัฒนาขึ้นโดยการวัดสัญญาณเสียงจากการเคาะและวิเคราะห์โดยใช้โครงข่ายใยประสาทเทียม (Artificial Neural Networks) เปรียบเทียบกับการวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ก่อนทำการวัดสัญญาณเสียงไข่ตัวอย่างถูกเช็คการแตกร้าวบนเปลือกด้วยวิธีส่องไฟ (candling) พบว่าสัญญาณเสียงจากไข่ที่มีเปลือกสมบูรณ์จะอยู่ในช่วง 2500 ถึง 7000 เฮิร์ต ขณะที่ไข่ซึ่งมีเปลือกร้าวหรือแตกสัญญาณเสียงจะอยู่ในช่วง 550 ถึง 9000 เฮิร์ต การวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันให้ความถูกต้องในการตรวจเช็คไข่เปลือกแตก 85.89% และมีความผิดพลาดจากการตรวจเช็คไข่ที่มีเปลือกสมบูรณ์ 10.26% ผลการตรวจเช็คที่ดีที่สุดใช้โครงข่ายใยประสาทเทียมแบบ Three-hidden slab backpropagation ซึ่งให้ค่าความถูกต้อง 98.72% และมีความผิดพลาด 10.17%