บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาผลของ Mg-dechelating Substances และการควบคุมด้วย Heat treatment ต่อการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในบร็อคโครี

สมัคร แก้วสุกแสง

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 107 หน้า. 2550.

2550

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของ Mg-dechelating Substances และการควบคุมด้วย Heat treatment ต่อการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในบร็อคโครี

การศึกษาผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อกิจกรรมเอนไซม์ Mg-dechelation และการเปลี่ยนแปลงของคลอโรฟิลล์และอนุพันธ์ของคลอฟิลล์ในบร็อคโครี โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ  4  และ  15  องศาเซลเซียส  พบว่าที่อุณหภูมิ  4  องศาเซลเซียสสามารถลดการ เปลี่ยนแปลงค่าสี  (Hue angle)  ปริมาณของคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บี  และกิจกรรมของเอนไซม์  Mg-dechelation (Chlide)  a pheophorbide (Pheide) a pyropheophorbide (Pyropheide) a C132-hydrocylchlorophyll (C132 -OHChl) a และ pheophytin (Phy) a พบว่าในวันที่  6 ของการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ  15  องศาเซลเซียส  ปริมาณ  Chlide a C132 –OHChl a และ Phy a ลดลงพร้อมกับการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของปริมาณPheide a และ Pyropheide a ในทางกลับกันที่อุณหภูมิ  4  องศาเซลเซียส  พบว่ามีการสะสมของ Chlide a และ Pheide a จากการศึกษาข้างต้นพบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ  4  องศาเซลเซียสสามารถชะลอการสลายตัวของ Chl และอนุพันธ์ในบร็อคโครี เป็นผลมาจาการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์  Mg-dechelation และ Chlorophyllase 

ส่วนการศึกษาผลของ  heat treatment  (50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง)  ต่อการสลายตัวของคลอโรฟิลล์และอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์  รวมทั้งกิจกรรมเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายตัวของคลอโรฟิลล์  ในระหว่างการทำ heat treatment และระหว่างการเก็บรักษาบร็อคโครีที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส พบว่าระหว่างการทำ heat treatment  2ชั่วโมง  ปริมาณของคลอโรฟิลล์   ได้แก่  Chlide  a  Pheide a  และ C132 –OHChl aลดลงระหว่างการทำ heat treatment ในขณะที่ไอโซเมอร์ของคลอโรฟิลล์ (Chl a’)  และ Phy a  เพิ่มขึ้น  การทำ heat treatment  2  ชั่วโมง  สามารถยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายตัวของคลอโรฟิลล์  เช่น  chlorophyllase  Mg-dechelation และ Chl-degrading peroxidase โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเอนไซม์  Mg-dechaelation ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ  15  องศาเซลเซียส  พบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บีลดลงชัดเจนในชุดควบคุมขณะที่ปริมาณคลอโรฟิลล์  ในบร็อคโครีที่มีการทำ  heat  treatment  มีการลดลงเล็กน้อย  ส่วนอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์พบว่าปริมาณ  Pheide  ในชุดควบคุมลดลงระหว่างการเก็บรักษา  ในทางกลับกันปริมาณ  Chlide a  ในบร็อคโครีที่มีการทำ  heat treatment  สูงกว่าชุดควบคุม  นอกจากนี้ปริมาณ  Chlide a  ในชุดควบคุมลดลงระหว่างการเก็บรักษา  ในทางกลับกันปริมาณ  Chlied  a  ในบร็อคโครีที่มีการทำ  heat treatment  แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและพบว่ากิจกรรมเอนไซม์ Mg-dechaelation  ถูกยับยั้งในบร็อคโครีที่มีการทำ heat treatment  ในระหว่างการเก็บรักษามีการสะสมของอนุพันธ์คลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นตัวกลาง  (intermediates) ในกระบวนการสลายตัวของคลอโรฟิลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  Pheide  a

การศึกษาลักษณะและบทบาทของเอนไซม์  Mg-dechaelation  ที่เกี่ยวข้องกับการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในบร็อคโครี  โดยสกัดเอนไซม์ออกเป็น  2  ส่วนตามขนาดโมเลกุลได้แก่  โมเลกุลที่มีขนาดน้อยกว่า  5,000  Da  (a low molecular weight fraction, LMWF)  และโมเลกุลที่มีขนาดมากว่ากว่า  5,000  Da  (a high molecular weight fraction, HMWF)  พบว่ามีกิจกรรมของเอนไซม์  Mg-dechaelation  ทั้ง  2  ขนาดโมเลกุล  โดยใช้สารตั้งต้นทำปฏิกิริยาทั้ง  chlorophyllin  (Chlin) a  และ  Chlide  a  กิจกรรมของเอนไซม์  Mg-dechaelation  ในบร็อคโครีที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ  15  องศาเซลเซียสนาน  4  วัน  (บร็อคโครีเหลือง)  มีค่าสูงกว่าบร็อคโครีที่เก็บรักษาในวันที่ 0  (บร็อคโครีเขียว)  ส่วนพีเอชทีเหมาะสม  (pH optimum)  ค่าความเสถียรของพีเอช  (pH stability)  และความเสถียรของอุณหภูมิ  (temperature stability)  ของปฏิกิริยาคือ  8.0  8.5  และ  40  องศาเซลเซียสตามลำดับทั้งในบร็อคโครีเขียวและบร็อคโครีเหลือง  นอกจากนี้กิจกรรมเอนไซม์  Mg-dechelating  สามารถถูกยับยั้งด้วยสารประกอบ  Chelating  compounds  สาร  radical  scavengers  และ  reducing  agents  เช่น  Ascorbate  และสารประกอบพวก flavonol  ซึ่งได้แก่  kaempferol และ  quercetin  ทั้งในบร็อคโครีเขียวและบร็อคโครีเหลือง  เมื่อนำ  HMWF  ที่มี Mg-dechelating  มาทำให้บริสุทธิ์  (partially  purified)  ด้วยการตกตะกอนโปรตีนด้วย  (NH4)2SO4  ที่อิ่มตัว  20-60  เปอร์เซ็นต์แล้วต่อเนื่องด้วยวิธีการ  molecular exclusion  chromatography  (Sephacryl S-200)  พบว่ากิจกรรมของ  Mg-dechelating  เพิ่มขึ้นในวันที่  6 ของการเก็บรักษาและกิจกรรมถูกยับยั้งในบร็อคโครีที่ผ่านการทำ  heat treatment  โดยสารตั้งต้นในการทำปฏิกิริยามีการใช้ทั้ง  Chlide a และ  Chlin a จากนั้นนำเอนไซม์  Mg-dechelating ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี  Anionic  exchange chromatography  (DEAE-650M) วิธี  Hydrophobic  interaction  chromatography (Butyl-650M)  และวิธี  Molecular  exclusion  chromatography  (HW-55F)  พบว่าเอนไซม์  Mg-dechelating  ไม่ปรากฏ  isozyme  และมีขนาดโมเลกุลเท่ากับ  70  KDa  เมื่อตรวจสอบด้วย  SDS-PAGE  อย่างไรก็ตามเอนไซม์  Mg-dechelating  ที่บริสุทธิ์ทำปฏิกิริยากับ  Chlin a  ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่มีในกระบวนการสลายตัวของคลอโรฟิลล์  จากการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่าสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายตัวของคลอโรฟิลล์