บทคัดย่องานวิจัย

ความหลากหลายของเชื้อราในลําไยอบแห้ง

ปิยะณัฐ ช่างเงิน

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา)คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 105 หน้า. 2552.

2552

บทคัดย่อ

ความหลากหลายของเชื้อราในลําไยอบแห้ง

การศึกษาความหลากหลายของเชื้อราในลําไยในระยะเก็บเกี่ยว ซึ่งแยกเชื้อราจากสวนตางๆของผล ลําไยที่ผานการฆาเชื้อบริเวณผิว โดยการทํา Tissue transplanting และใชอาหาร Lactic Acid Potato Dextrose Agar (PDA-LA) โดยการเก็บตัวอยางจากหนาเตาอบลําไยในเขตจังหวัดเชียงใหมในชวงเดือน กรกฎาคม 2550 สามารถแยกเชื้อไดทั้งหมดจํานวน 1226 ไอโซเลต เปนเชื้อที่แยกไดจากผลลําไยกอนอบ 121 ไอโซเลต เชื้อที่แยกไดจากผลลําไยหลังอบ 1046 ไอโซเลต และเชื้อจากผลลําไยจากทองตลาด 60 ไอโซเลต เมื่อจัดจําแนกโดยวิธีทางสัณฐานวิทยาและอณูชีววิทยาโดยใชยีนในตําแหนง 28S rDNA (LSU)และ ITS1-5.8S-ITS2 สามารถแยกเชื้อได 10 ชนิด ดังนี้ Lasiodiplodia sp. (30.58%), Xylaria sp. (14.05%), Aspergillus sp. (14.05%), Unknown (11.57%), Penicillium sp. (10.74%) Fusarium sp. (4.96%), Rhizopus sp. และ Pestalotiopsis sp. (4.31%), Trichoderma sp. (3.31%) และ Botrytis sp. (2.48%)

ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าวโดยการใช้การวิเคราะหความแปรปรวนแบบหลายทาง (Multiple Factors ANOVA) พบวาความผันแปรรวมระหวางตําแหนงในการอบและชวงเวลาในการเก็บรักษาของลําไยอบแหงไมมีผลตอจํานวนเชื้อราที่พบบนลําไยอบแหง ที่ระดับคานัยสําคัญ (α) 0.05 และจํานวนวันในการเก็บรักษาไมมีความสัมพันธกับ ความหลากหลายของเชื้อที่พบ และจํานวนเชื้อที่พบที่ระดับคานัยสําคัญ (α) 0.05