บทคัดย่องานวิจัย

ผลของ hexanal ต่อการเน่าเสียหลังการเก็บเกี่ยวของลำไยที่เกิดจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae

พรทิพย์ ถาวงค์

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 156 หน้า. 2553.

2553

บทคัดย่อ

ผลของ hexanal ต่อการเน่าเสียหลังการเก็บเกี่ยวของลำไยที่เกิดจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae

ศึกษาผลของ hexanal ต่อการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์เชื้อรา L. theobromaeโดยการรม hexanalที่ความเข้มข้น 0, 66, 132, 198, 300, 600 และ 900 µl l-1 เป็นเวลา 1, 2, 24 และ 48 ชั่วโมง พบว่าความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกสปอร์ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ hexanalมากกว่าระยะเวลาการรม โดยที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 198 µl l-1ขึ้นไปมีผลยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์แบบ fungicidal ส่วนความเข้มข้นต่ำมีผลยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์แบบ fungicidalทำให้การงอกของสปอร์ช้าลง เส้นใยที่งอกมีการแตกกิ่งก้านมากกว่าปกติ เส้นใยบวมและแตก

สำหรับผลของ hexanal ต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยอายุ 3, 7 และ 14 วัน และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายผนังเซลล์ของเส้นใยอายุ 14 วัน จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ cellulose, polygalacturonase (PG), pectin methyl esterase (PME) และ cutinase โดยทำการรม เส้นใยของ เชื้อรา L. theobromae ด้วย hexanal ที่ความเข้มข้น 477, 954 และ 1,431 µl l-1 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่าความเข้มข้นของ hexanal และอายุของเส้นใยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใย hexanalทำให้เกิดแวคิวโอลจำนวนมาก เส้นใยอายุ 3 และ 7 วันมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาน้อยกว่าเส้นใยอายุ 14วัน ส่วนผลของ hexanal ต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายผนังเซลล์ พบว่าเสนใยที่ได้รับการรม hexanal ความเข้มข้นตั้งแต่ 477 µl l-1มีกิจกรรมของ cellulose ลดลง 10 เท่าของเส้นใยปกติ แต่ไม่พบความแตกต่างของกิจกรรมของเอนไซม์ PG, PME และ cutinase

การศึกษาผลของ hexanal ต่อการเน่าเสียของลำไยพันธุ์ดอที่เกิดจากเชื้อ L. theobromaeโดยการรมผลลำไยที่ได้รับการปลูกเชื้อรา L. theobromaeและไม่ปลูกเชื้อ ด้วย hexanal ที่ความเข้มข้น 0, 300, 600 และ 900 µl l-1 เป็นเวลา 1, 2, 3, 4 และ 6 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง ก่อนเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่า การรมผลลำไยด้วย hexanal ความเข้มข้น 900 µl l-1 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การเน่าเสียน้อยที่สุดเมื่อนำกรรมวิธีนี้มารมผลลำไยที่ทำการปลูกเชื้อ L. theobromae และไม่ปลูกเชื้อ ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส, อุณหภูมิห้อง และ 5 องศาเซลเซียส พบว่า กรรมวิธีการรม hexanal ที่อุณหภูมิห้องเป็นกรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดการเน่าเสียของลำไย นอกจากนี้การรมผลลำไยด้วย hexanal ทำให้การรั่วไหลของสารอิเลคโตรไลท์ของเปลือกลำไยเพิ่มขึ้น 2- 4 เท่า ความสว่างและสีของเปลือกด้านนอกและด้านในลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การยอมรับของผู้บริโภคลดลง สำหรับปริมาณ hexanal ในเปลือกและเนื้อลำไยที่ไม่รม hexanal มีปริมาณอยู่ระหว่าง 0-1.62 µg/g และ 0-0.02 µg/g ต่อน้ำหนักสด 1 กรัม ตามลำดับ เมื่อผ่านการรมผลลำไยความเข้มข้น 900 µl l-1 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปริมาณ hexanal ในเปลือกและเนื้อลำไยเพิ่มขึ้น 3.63-10.85 µg/g และ 0.07-2.42 µg/g ต่อน้ำหนักสด 1 กรัม ตามลำดับ โดยปริมาณ hexanal ในเปลือกและเนื้อผลลดลงตามอายุการเก็บรักษา

ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอล