การพัฒนาสารเคลือบผิวสำหรับมะละกอพันธุ์ฮาวาย
ปียนาถ จิตอารีรัตน์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 214 หน้า. 2553.
2553
บทคัดย่อ
มะละกอเป็นผลผลิตอย่างหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก และมีแนวโน้มที่มีมูลค่าสูงขึ้น โดยปัญหาที่สำคัญของมะละกอ คือ การสุกเร็ว อายุการเก็บรักษาสั้น และลักษณะปรากฎผิวด้านไม่เป็นมันเงา การเคลือบผิวเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพและชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลผลิตได้ ประกอบกับการศึกษาเกี่ยวกับสารเคลือบผิวในมะละกอมีอย่างจำกัด ขณะที่ภาคการผลิตมะละกอเพื่อการค้ามีความต้องการสูงเพื่อปรับปรุงลักษณะปรากฏและยืดอายุการเก็บรักษา จึงได้ทำการศึกษาพัฒนาสารเคลือบผิวมะละกอ เริ่มจากการศึกษาดัชนีการคุณภาพ และพบว่าปัจจัยคุณภาพของมะละกอพันธุ์ฮาวายที่มีความสำคัญต่อการยอมรับของผู้บริโภค ได้แก่ คุณภาพด้านสีเปลือก (L*, a*, b*, c*)ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ความแข็ง และสีเปลือก (h) ซึ่งเป็นปัจจัยแสดงถึงการสุกของมะละกอ จากนั้นศึกษาพัฒนาสารเคลือบจากเชลแลคและไฮดรอกซีโพรพิลเมทธิลเซลลูโลสที่อัตราส่วน 25:50, 50:50และ 75:25 และศึกษากลีเซอรอลความเข้มข้นร้อยละ 0, 1 และ 3 ปริมาตรต่อปริมาตรตามลำดับ พบว่าสารเคลือบที่ได้มีลักษณะปรากฏของสารเคลือบมีสีน้ำตาลอ่อน ค่าการเกาะติดพื้นผิววัสดุ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด และความสามารถในการซึมผ่านออกซิเจนเพิ่มขึ้นตามปริมาณเชลแลคที่มากขึ้น การเติมกลีเซอรอลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลือบผิวมะละกอ โดยสารเคลือบผิวเชลแลคกับไฮดรอกซีโพรพิลเมทธิลเซลลูโลส 50:50เติมกลีเซอรอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 1ช่วยรักษาคุณภาพของมะละกอพันธุ์ฮาวายได้ดีที่สุด คือ คงค่าความแข็ง ลดการสูญเสียน้ำหนัก มีการเสื่อมเสียของผลมะละกอต่ำสุด และสามารถยืดอายุการเก็บรักษามะละกอจาก 6 วันเป็น 10 วันที่อุณหภูมิห้อง (29±2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75±5) นอกจากนี้การใช้สารเคลือบร่วมกับการเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำ (12±2องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 86.5±5)ช่วยคงคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษามะละกอพันธุ์ฮาวายได้นานถึง 25 วัน เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสารเคลือบผิวระหว่างการเก็บรักษาที่