บทคัดย่องานวิจัย

การช้ำของเปลือกมังคุดและเปลือกผลมะพร้าวอ่อนเมื่อรับภาระเชิงกล

อุดมศักดิ์ กิจทวี

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมเกษตร) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 111 หน้า. 2554.

2554

บทคัดย่อ

การช้ำของเปลือกมังคุดและเปลือกผลมะพร้าวอ่อนเมื่อรับภาระเชิงกล

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งหวังที่จะศึกษาสมบัติเชิงกลของเปลือกมังคุดแข็งภายใต้ภาระเชิงกล  และศึกษาการช้ำและสมบัติเชิงกลที่สัมพันธ์กันของผลมะพร้าวอ่อน ภายใต้ภาระเชิงกล

การใช้ตัวแปรเชิงกลได้แก่ ความแน่นเนื้อ (อัตราส่วนแรงต่อการเปลี่ยนรูป) และดัชนีความแน่นเนื้อ (อัตราส่วนความเร่งสูงสุดต่อเวลากระแทกสัมผัสที่สมนัยกัน) ประเมินผลมังคุดที่ถูกกดด้วยแผ่นแบนแข็งที่ติดตั้งกับเครื่อง Universal Testing Machine (Instron  5569)และกระทำกระแทกด้วยหัวกระแทก โดยใช้ปัจจัยควบคุม 3ปัจจัยได้แก่ ก) ภาระ 6 ระดับ (100, 80, 60, 40, 20 และ 0 %ของแรงแตก   ข) ระยะเจริญเติบโตของผลมังคุด 2 ระยะ (สีชมพูและสีม่วงดำ) ค)จำนวนวันเก็บรักษา (0, 4, 8 วันหลังจากวันทดสอบ) วิเคราะห์การทดลองทางสถิติด้วย ANOVA และ DMRTผลการทดสอบปรากฏว่า ภาระกด ระยะการเจริญเติบโต และวันเก็บรักษามีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 5 %กับความแน่นเนื้อและดัชนีความแน่นเนื้อ มังคุดเกิดเปลือกแข็งเนื่องจากของเหลวภายในผนังเซลล์ซึ่งเสียหายจากการรับภาระทำปฏิกิริยากับอากาศภายนอกจนเกิดการสะสมลิกนิน มังคุดสีชมพูมีแนวโน้มเป็นมังคุดเปลือกแข็งได้น้อยกว่ามังคุดม่วงดำ อาการเปลือกแข็งของมังคุดเป็นอาการ “ช้ำ” ของเปลือกมังคุด

ผลมะพร้าวอ่อนพันธุ์น้ำหอมที่มีขนาดสม่ำเสมอ  3  ระยะการเจริญเติบโต  (ระยะหนึ่งชั้น  ชั้นครึ่ง และสองชั้น)  การทดสอบแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ  การทดสอบก่อนเกิดการช้ำ (Below threshold) และการทดสอบหลังเกิดการช้ำ (Beyond threshold) ผลปรากฏว่ามะพร้าวอ่อนระยะสองชั้น  เป็นระยะที่เกิดการช้ำได้ง่ายที่สุด