การจัดการโลจิสติกส์ขาเข้าข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อการส่งออก
อนุวัฒน์ รัตนชัย
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 142 หน้า. 2554.
2554
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1)เพื่อศึกษาขั้นตอนโซ่อุปทานและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อการส่งออก (2)เพื่อศึกษาระบบโลจิสติกส์ขาเข้า (3)เพื่อลดต้นทุนการผลิตเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพ และเพิ่มกำไร (4)เพื่อศึกษาความปลอดภัยด้านอาหารของโซ่อุปทานข้าวโพดฝักอ่อน
สมาชิกสำคัญในโซ่อุปทานของข้าวโพดฝักอ่อน คือ เกษตรกร ผู้รวบรวม และโรงงานคัดบรรจุ โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม และราชบุรี จากการสำรวจเกษตรกรจำนวน 102ราย พบว่า 60%เป็นเกษตรกรที่ปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม งานวิจัยนี้กล่าวถึงต้นน้ำของโซ่อุปทานคือ เกษตรกร และผู้รวบรวม การวิเคราะห์โซ่อุปทานของข้าวโพดฝักอ่อนตามวิธีการของ แบบจำลองอ้างอิงกระบวนการโซ่อุปทาน เพื่อทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันของโลจิสติกส์ขาเข้าของข้าวโพดฝักอ่อน และเพื่อวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักของการจัดการโซ่อุปทาน
ในการศึกษานี้ ได้นำแบบจำลองอ้างอิงกระบวนการโซ่อุปทานมาใช้ในการประเมินโรงคัดบรรจุ ในการจัดลำดับโซ่อุปทานข้าวโพดฝักอ่อน โซ่อุปทานข้าวโพดฝักอ่อนมี 5 ส่วน คือ เกษตรกร ผู้รวบรวม โรงคัดบรรจุ ซุปเปอร์มาเกต และผู้บริโภค ซึ่งแบบสอบถามได้นำไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ปฏิบัติการในโรงคัดบรรจุ กระบวนในระดับที่ 1ประกอบด้วย 5กระบวนที่แตกต่างกัน คือ การวางแผน การจัดหา การผลิต การส่งมอบ และการส่งคืนสินค้ากลับส่วนกระบวนในระดับที่2มีรายละเอียดมากกว่าในแบบจำลองอ้างอิงกระบวนการโซ่อุปทานแผนในอนาคตได้ถูกนำใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงคัดบรรจุบนหลักการของการจัดการโซ่อุปทาน การจัดลำดับของโรงคัดบรรจุจึงได้นำมาพิจารณา
โลจิสติกขาเข้าสำหรับโซ่อุปทานข้าวโพดฝักอ่อนในประเทศไทยได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อหาปัจจัยที่นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ถูกไปสุ่มสำรวจเป็นเกษตรกร 102ราย และผู้รวบรวม 16ราย ตามหลักการสุ่มตัวอย่าง ประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบได้ถูกตัดสินโดยโปรแกรมการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงาน Win4DAEPผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบที่มีค่า 1.0พบว่ามีเพียงเกษตรกร 9รายเท่านั้น และเกษตรกร 4เป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ ปฏิบัติตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมและเป็นเกษตรกรที่เป็นระบบการเกษตรพันธะสัญญา
การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโซ่อุปทานข้าวโพดฝักอ่อนถูกนำมากล่าวถึง ผลการสอบสวนจาก 3 สถานที่ที่เกี่ยวข้อง เดนมาร์ก ออสเตรเลีย และไทย พบข้อมูลเดียวกันเกี่ยวกับเชื้อ Shigellosisระบาด ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับผู้บริโภคข้าวโพดฝักอ่อนที่ผลิตโดยบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในช่วงระยะแรกของการสอบสวนการระบาดในประเทศไทย ไม่มีรายงานการระบาดเกิดขึ้นพร้อมกันในออสเตรเลีย แต่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องในเดนมาร์ก ในการตรวจสอบของบริษัทส่งออกแห่งหนึ่ง พบว่าผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักอ่อนถูกส่งออกไปจริงหลายประเทศรวมทั้งออสเตรเลีย ในขณะที่การสอบสวนการระบาดของโรคในไทยโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้แจ้งการพบเชื้อในออสเตรเลียกับผลของการสอบสวนยังมีความสัมพันธ์กับบริษัทส่งออกแห่งหนึ่งจากประเทศไทย