บทคัดย่องานวิจัย

การประยุกต์ใช้สารออกซิไดส์ซิ่งในการล้างเพื่อลดสารตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในผักสด

อัจฉรา แสนคม

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การอาหาร) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 192 หน้า. 2555.

2555

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้สารออกซิไดส์ซิ่งในการล้างเพื่อลดสารตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในผักสด

ในช่วงปี 2553-2554 ผักสดส่งออกของไทยประสบปัญหาการกักกันของสินค้าเนื่องจากพบสารกาจัดศัตรูพืชตกค้างโดยเฉพาะสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกลุ่มออกซิไดส์ซิ่ง 3 ชนิด เปรียบเทียบระหว่างน้าอิเล็กโทรไลซ์ชนิดกรด (น้า EO) คลอรีนไดออกไซด์ และน้าโอโซน ในการล้างผักเพื่อลดปริมาณสารกาจัดศัตรูพืชและเพิ่มศักยภาพในการส่งออก ทดสอบในผักคะน้าและประยุกต์ใช้ในผักสด 5 ชนิด ได้แก่ คะน้า ผักชี พริกชี้ฟ้า ผักกาดขาวปลี และกะหล่ำปลี แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพการล้างผักด้วยน้าล้างกลุ่มออกซิไดส์ซิ่งในห้องปฏิบัติการ ชุดที่ 2 ศึกษาในแปลงปลูก ทั้งสองชุดวิเคราะห์ปริมาณสารตกค้างด้วยชุดทดสอบจีที ชุดที่ 3 ประยุกต์ใช้กระบวนการล้างในผักสดเพื่อการส่งออก วิเคราะห์ปริมาณสารตกค้างด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟี ผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการพบว่าการล้างผัก 5 ชนิดที่สร้างการตกค้างเริ่มต้นของสารโพรฟิโนฟอสและคลอไพริฟอสเท่ากับ 10 เท่า ของค่าสารพิษตกค้างสูงสุดของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU-MRL) ปี 2010 ด้วยน้าโอโซนเข้มข้น 1 พีพีเอ็ม เวลา 10 นาที สามารถลดโพรฟิโนฟอสและคลอไพริฟอสได้ 70-86 % และ 67-85 % ตามลาดับ การล้างด้วยคลอรีนไดออกไซด์ 10 พีพีเอ็ม เวลา 10 นาที ลดสารโพรฟิโนฟอสและคลอไพริฟอสได้ 60-73% และ 56-70% ตามลาดับ น้า EO ชนิดกรด ความเข้มข้น 70 พีพีเอ็ม ที่เวลาเดียวกัน ลดโพรฟิโนฟอสได้ 57-74% ในกรณีนี้ไม่สามารถตรวจวัดสารคลอไพริฟอสได้ด้วยชุดทดสอบจีทีโดยเฉพาะกับผักคะน้า สาหรับผลการศึกษาในแปลงปลูกโดยใช้คะน้าเป็นตัวแทนชนิดผัก เปรียบเทียบประสิทธิภาพการล้างในคะน้าเก็บเกี่ยวหลังฉีดพ่น (PHI) ด้วยโพรฟิโนฟอสที่ 3 กับ 10 วัน และคลอไพริฟอสที่ 3 กับ 14 วัน จากการตรวจสอบในผักที่ปลูก 2 รุ่น พบว่าน้าโอโซนมีประสิทธิภาพในการลดโพรฟิโนฟอสได้ดีที่สุด ในคะน้ามีปริมาณตกค้างเริ่มต้น 18.6-21.6 พีพีเอ็ม (PHI 3 วัน) ลดได้ 57-59% และ 1.3-2.0 พีพีเอ็ม (PHI 10 วัน) ลดได้ 55-58 % ในทานองเดียวกันลดปริมาณสารคลอไพริฟอสตกค้างเริ่มต้น 17.9-20.4 พีพีเอ็ม (PHI 3 วัน) ลดได้ 58-60 % และ 1.7-1.8 พีพีเอ็ม (PHI 14 วัน) ลดได้ 62-73 % ส่วนคลอรีนไดออกไซด์ลดโพรฟิโนฟอสและคลอไพริฟอสในคะน้าหลังการเก็บเกี่ยว 10 และ 14 วันได้ 40-46% และ 43-56 % และการล้างคะน้าด้วยน้า EO ชนิดกรด ลดโพรฟิโนฟอสได้ 41-52 % สาหรับผลการประยุกต์ใช้สภาวะการล้างที่ดีที่สุดล้างผักสดเพื่อการส่งออก พบว่าน้าโอโซน (1 พีพีเอ็ม) คลอรีนไดออกไซด์ (10 พีพีเอ็ม) และน้า EO ชนิดกรด (70 พีพีเอ็ม) นาน 10 นาที ลดสารกาจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (โพรฟิโนฟอส คลอไพริฟอส ไดโครโตฟอสและอีไทออน) ในผักสด (คะน้า ผักชี พริก และผักกาดขาวปลี) ได้จริง ที่สาคัญผักที่มีปริมาณการตกค้างไม่มากเกินกว่า 5 เท่า หรือใกล้เคียงค่า EU-MRL วิธีการล้างข้างต้นช่วยลดปริมาณสารกาจัดศัตรูพืชให้ผ่านมาตรฐาน EU-MRL ได้ การล้างด้วยน้าล้างกลุ่มออกซิไดส์ซิ่งทั้ง 3 ชนิดจึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการส่งออกสู่กลุ่มประเทศยุโรป ลดปัญหาตีกลับของสินค้าได้