การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันดอกทานตะวันโดยทางเคมีและชีวภาพ
เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ และปวีณา อร่ามรัตนา
การประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2547 ของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. “นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ : หนึ่งทางเลือกเพื่อยกระดับสู่ครัวของโลก. 12-15 ธันวาคม พ.ศ. 2547. ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก. เลขหน้า 32.
2547
บทคัดย่อ
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันดอกทานตะวันโดยทางเคมีและชีวภาพ
การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยกระบวนการทรานส์เอสเทอร์ริฟิเคชั่นสามารถทำโดยใช้เบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามีข้อดีคือราคาถูก แต่การใช้เบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะทำให้กรดไขมันอิสระในน้ำมันถูกเปลี่ยนเป็นสบู่ซึ่งเอนไซม์ไลเปสสามารถกำจัดกรดไขมันอิสระให้เปลี่ยนเป็นแอลคิลเอสเทอร์ได้ งานวิจัยนี้จึงสนใจทั้งการใช้เบสและเอนไซม์ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จากการทดลองพบว่า ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอร์ริฟิเคชั่นโดยใช้เบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ร้อยละของเมทิลเอสเทอร์สูงสุดได้ร้อยละ 92 และเมทิลเอสเทอร์ที่ได้มีไตรกลีเซอไรด์, ไดกลีเซอไรด์, โมโนกลีเซอไรด์ หลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอร์ฟิเคชั่นโดยใช้ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ค่าเมทิลเอสเทอร์ไม่สูงนัก อาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น สภาวะที่ใช้ในการทดลอง ระยะเวลาที่ใช้ และการเสียสภาพของเอนไซม์อันเนื่องมาจากเมทานอลซึ่งเป็นสารตั้งต้น