ความสัมพันธ์ของการเสื่อมคุณภาพการบริโภคของผลไม้สดแปรรูปพร้อมบริโภคกับการเปลี่ยนสีของ Indicator
วรภัทร สัคนทินวงศ์ ชัยยุทธ์ รัตนพันธุ์ และ อรุณชัย ศิริทรัพย์
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 4. 4-7 พฤษภาคม 2547 ณ โรงแรมเจบีหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา. เลขหน้า 64 (196 หน้า)
2547
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ของการเสื่อมคุณภาพการบริโภคของผลไม้สดแปรรูปพร้อมบริโภคกับการเปลี่ยนสีของ Indicator
ศึกษาการเสื่อมสภาพของผลไม้สดแปรรูป 4 ชนิด คือ ส้มโอพันธุ์ ทองดี และ ขาวน้ำผึ้ง สับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง และมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย ที่ผ่านการตัดแต่งพร้อมบริโภคบรรจุในถาดพลาสติกชนิด Polyethylene (PE) ขนาดบรรจุ 350 กรัม/ถาด ปิดด้วยฟิล์มพลาสติกชนิด Polyvinyl chloride (PVC): M wrap ที่มีความหนา 15 um. และฟิล์ม P-Plus ความหนา 25 um. มีค่าการซึมผ่าน O2 transmission rate (OTR) ประมาณ 22,000 cc/m2/24 hr. ทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (28+1 องศาเซลเซียส) และเก็บที่อุณหภูมิ 10 + 1 องศาเซลเซียส พบว่า ผลไม้ทุกชนิดที่เก็บที่อุณหภูมิห้องเน่าเสียภายใน 2 วัน มีปริมาณ acetaldehyde ความเข้มข้นร้อยละ 99.5 เกิดขึ้นก่อนการเน่าเสีย ปริมาณ CO2 และ O2 โดยเฉลี่ยภายในภาชนะบรรจุเปลี่ยนจากร้อยละ 0.03 และ 21 เป็นร้อยละ 19 และ 2 สีของ indicator ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.003, 0.005 และ 0.007 โมล/ลิตร เปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดง ส้มแดง และเหลืองตามลำดับ ส่วนที่เก็บที่อุณหภูมิ 10+1 องศาเซลเซียส เน่าเสียภายใน 7 วันพบราขึ้นที่ส้มโอทั้งสองสายพันธุ์ และมะละกอ แต่ไม่พบในสับปะรด พบปริมาณ ความเข้มข้นร้อยละ 99.5 เกิดขึ้นก่อนการเน่าเสียในวันที่ 4 และ 5 ตามลำดับ ปริมาณ CO2 และ O2 โดยเฉลี่ยภายในภาชนะบรรจุเปลี่ยนจากร้อยละ 0.03 และ 21 เป็นร้อยละ 17 และ 8 สีของ indicator เปลี่ยนสีเช่นเดียวกับที่เก็บที่อุณหภูมิห้อง