การประเมินผลการจัดชั้นคุณภาพของผลชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง
ณัฐยา ศรีสวัสดิ์ และ กวิศร์ วานิชกุล
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 4. 4-7 พฤษภาคม 2547 ณ โรงแรมเจบีหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา. เลขหน้า 156 (196 หน้า)
2547
บทคัดย่อ
การประเมินผลการจัดชั้นคุณภาพของผลชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง
การศึกษาถึงการประเมินผลการจัดคุณภาพ (เกรด) ของชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง ของเกษตรกร ต.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เพื่อประเมินผลการจัดชั้นคุณภาพและศึกษาความแตกต่างทางปริมาณและคุณภาพของชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง ที่มีการจัดชั้นคุณภาพโดยใช้ความแตกต่างของขนาดผลตามวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติจัดแบ่งเป็น 4 เกรด ได้แก่ เกรด 0, 1, 2 และ 3 โดยแต่ละเกรดมีความแตกต่างกันทางด้านผลจากใหญ่ไปเล็ก คือ จากเกรด 0-3 จะมีน้ำหนักเฉลี่ย 117.28, 85.45, 68.35 และ 58.12 กรัมต่อผล ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลน้ำหนักผลมาแจกแจงและสร้างเป็นกราฟโค้งความถี่ พบว่ามีการเหลื่อมล้ำกันระหว่างเกรดที่ใกล้เคียงกันโดยมีการเหลื่อมล้ำกันประมาณ 15% ระหว่าง 0 กับ เกรด 1 และ ระหว่างเกรด 1 กับ เกรด 3 เหลื่อมล้ำกันประมาณ 35% ระหว่างเกรด 1 กับเกรด 2 และมีการเหลื่อมล้ำกันประมาณ 50% ระหว่างเกรด 2 กับ เกรด 3 เมื่อตรวจสอบคุณภาพผลภายนอกคือ ความกว้าง, ความยาว และน้ำหนักผล ต่างมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทั้งหมดโดยมีค่าจากมากไปน้อยตามเกรดที่ได้จัดไว้คือจากเกรด 0 ไปสู่เกรด 3 ในด้านคุณภาพภายในพบว่า เกรด 1 จะมีความแน่นเนื้อ, ความหนาเนื้อและเปอร์เซ็นต์ recovery โดยเฉลี่ย มากกว่าเกรด 1, 2 และ 3 ในเขตที่เกรด 2 จะมีปริมาณ Total soluble solids โดยเฉลี่ยมากกว่าเกรดอื่นๆ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างเกรดในค่า pH และเปอร์เซ็นต์กรดรวมในรูปกรดซิตริกของน้ำคั้นจากเนื้อผล