บทคัดย่องานวิจัย

ผลของน้ำมันกานพลูและไคโตซานต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสและอายุการเก็บรักษาพริกชี้ฟ้า Capsicum annuum L.

สุประวีณ์ นาคภิบาล กนกวรรณ เสรีภาพ และธีรดา หวังสมบูรณ์ดี

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 27 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

ผลของน้ำมันกานพลูและไคโตซานต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสและอายุการเก็บรักษาพริกชี้ฟ้า Capsicum annuum L. การใช้น้ำมันกานพลูและไคโตซานในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum ap. และเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพริกชี้ฟ้า พบว่าน้ำมันกานพลูที่ความเข้มข้น 800, 900 และ 1,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์ C. gloeosporioides บนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ 100% เมื่อเทียบกับการเจริญของราในชุดควบคุม เมื่อแช่ผลพริกชี้ฟ้าในสารละลายน้ำมันกานพลูที่ระดับความเข้มข้น 800 ppm หลังจากปลูกเชื้อราบนผลพริก พบว่าขนาดของบาดแผลที่เกิดจากโรคแอนแทรคโนสมีขนาดเล็กกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อแช่ผลพริกชี้ฟ้าในสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 5 ppm เป็นเวลา 1นาที ทำให้น้ำหนักสด และลักษณะภายนอกเปลี่ยนแปลงไปน้อยที่สุด ดังนั้นผลพริกชี้ฟ้าที่แช่ในน้ำมันกานพลูและไคโตซาน ทำให้เกิดโรคแอนแทรคโนสน้อยและมีอายุการเก็บรักษามากกว่าในชุดควบคุม