การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารฟีนอลิก และกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกกล้วยในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
สุรัสวดี พรหมอยู่ และสายชล เกตุษา
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 57 (276 หน้า)
2548
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารฟีนอลิก และกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกกล้วยในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
การเก็บรักษาผลกล้วยดิบพันธุ์หอมทอง และน้ำว้าที่อุณหภูมิ 4 และ 12 องศาเซลเซียส (ความชื้นสัมพัทธ์ 80%) เป็นเวลา 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน พบว่าการเกิดอาการสะท้านหนาว การรั่วไหลของประจุ ปริมาณสารฟีนอลิก กิจกรรมของเอนไซม์ polyphenol oxidase (PPO) และ peroxidase (POD) ของเปลือกกล้วยหอมทองที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ 4 องศาเซลเซียสมีค่ามากกว่าผลที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส และอาการสะท้านหนาวลดลง เมื่อย้ายมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกล้วยหอมทองกับกล้วยน้ำว้า พบว่า กล้วยน้ำว้ามีความต้านทานต่ออาการสะท้านหนาวได้มากกว่ากล้วยหอมทองเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ สอดคล้องกับการรั่วไหลของประจุ กิจกรรมของเอนไซม์ PPO และ POD ในกล้วยน้ำว้า มีค่าน้อยกว่ากล้วยหอมทอง ยกเว้นปริมาณสารฟินอลิกพบว่ามีค่ามากกว่ากล้วยหอมทอง