ผลของการใช้ a-aminoisobutyric acid (AIB) และแคลเซียมไนเตรตในสารเคมียืดอายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวาย
มณทินี ธีรารักษ์
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 92 (276 หน้า)
2548
บทคัดย่อ
ผลของการใช้ a-aminoisobutyric acid (AIB) และแคลเซียมไนเตรตในสารเคมียืดอายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวาย
สารซิลเวอร์ไนเตรตที่นิยมนำมาใช้ในสารยืดอายุดอกไม้หลายชนิดแต่เนื่องจากสารซิลเวอร์ไนเตรตเป็นโลหะหนักทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สาร a-aminoisobutyric acid (AIB) จึงถูกนำมาใช้ศึกษาประสิทธิภาพในการยืดอายุปักแจกันในดอกกล้วยไม้เพื่อทดแทนการใช้สารซิลเวอร์ไนเตรต สาร AIB เป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับ ACC สามารถยับยั้งการสังเคราะห์เอทิลีน และยับยั้งการเสื่อมสภาพของดอกไม้เช่นเดียวกับซิลเวอร์ไนเตรต จากการศึกษาการใช้สารละลาย AIB ร่วมกับกลูโคสและ hydroxyquinoline sulfate (HQS) ที่มีผลต่ออายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวายโจแดง พบว่า ดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในสารละลายกลูโคส 1 เปอร์เซ็นต์, HQS 225 มิลลิกรัมต่อลิตร และสาร AIB 10 mM ทำให้ดอกกล้วยไม้มีอายุปักแจกันนาน 38.7 วัน และมีอายุปักแจกันใกล้เคียงกับดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในซิลเวอร์ไนเตรต เมื่อปรบ pH ในสารละบายกลูโคส 4 เปอร์เซ็นต์, HQS 225 มิลลิกรัมต่อลิตร และสาร AIB 10 mM ที่ระดับ 3, 4, 5, 6 และ 7 พบว่าที่ระดับ pH 5.0 ทำให้ดอกกล้วยไม้อายุปักแจกันนานที่สุด 31.8 วัน การเพิ่มสาร แคลเซียมไนเตรตในสารละลายกลูโคส 4 เปอร์เซ็นต์, HQS 225 มก./ลิตร และ AIB 10 mM ทำให้ประสิทธิภาพของสารละลายในการยืดอายุปักแจกันลดลง