บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาการผลิตพริกแบบผสมผสานเพื่อการแปรรูปและส่งออก โดยกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น

พรทิพย์ แพงจันทร์ กุศล ถมมา เย็นฤดี สุปะมา รพีพร ศรีสถิตย์ ศศิธร ต่อสกุล ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย ศักดิ์สิทธิ์ จรรยาภรณ์ วัชราพร พาภักดี และสุมิตรา เภสัชชา

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 166 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

การพัฒนาการผลิตพริกแบบผสมผสานเพื่อการแปรรูปและส่งออก โดยกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวัน เนื่องจากสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงแต่งรสชาติของอาหาร ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง หรือพริกป่น รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคบางชนิด ทั้งนี้เพราะพริกเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหาร มีสารสำคัญ มีสี และรสชาติที่ไม่อาจใช้ผลผลิตจากพืชอื่นทดแทนได้ ในขณะที่การปลูกพริกของเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหา เรื่องผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ ขาดแคลนพริกในบางฤดู คุณภาพผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะเพื่อนำไปแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมและการส่งออก ที่สำคัญมีปัญหาโรคแมลงศัตรูพริก คือ โรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรคโนส โรงเหี่ยว-เขียว ใบด่าง เพลี้ยไฟ ไรขาว ทำให้มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดในอัตราค่อนข้างสูง ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดการ ตลอดจนพันธุ์พริกที่ดีสามารถให้ผลผลิตสูง และต้านทานต่อโรคแมลงและสิ่งแวดล้อม จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาการผลิตพริกให้มีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป เริ่มดำเนินการทดสอบระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ถึง กันยายน 2547 ได้คัดเลือกเกษตรกร ตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง และตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีเกษตรกรร่วมดำเนินการ 23 ราย ทำการทดสอบระบบการปลูกพริกแบบผสมผสาน โดยลดการใช้สารเคมี เน้นการใช้ชีวินทรีย์ เปรียบเทียบกับเกษตรกร (เคมี) ผลการทดสอบ พบว่า วิธีผสมผสาน พริกชี้ฟ้าให้ผลผลิตเฉลี่ย 723 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่าวิธีไม่ใช้สารเคมีและวิธีเกษตรกร และเมื่อเปรียบเทียบในแง่ของการเกิดโรคแมลง พบว่า ผลผลิตเกิดโรคแมลงเข้าทำลายน้อยกว่าปีที่ผ่านมา จำนวน 18 ราย ในแง่ของรายได้ ต้นทุน และผลตอบแทน เห็นได้ว่า กรรมวิธีผสมผสานให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ 4,631 บาท/ไร่ สำหรับต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรที่ผลิตพริกโดยไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงประมาณ 1,380 บาท/ไร่ วิธีผลิตพริกแบบผสมผสาน (ชีวภาพ+สารเคมี) ต้นทุนเฉลี่ย 1,907 บาท/ไร่ ในขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยรวมของวิธีเกษตรกร (เคมี) คือ 1,480 บาท/ไร่ แต่เมื่อคิดต้นทุนต้านสารเคมีของวิธีเกษตรกรจะมากกว่าทั้งสองวิธี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนด้านสารชีวินทรีย์ และด้านการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยวซึ่งมากตามผลผลิตของแต่ละกรรมวิธี เห็นได้ว่ากรรมวิธี