บทคัดย่องานวิจัย

การยืดอายุผลมะละกอหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม

ปาริชาติ เบิร์นส; สุวรรณา บาลดี; อรวรรณ คำดี และเสริมศิริ จันทร์เปรม

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 191

2548

บทคัดย่อ

การยืดอายุผลมะละกอหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม มะละกอเป็นไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทย นอกจากรับประทานสดแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ซอส และลูกอม แม้ว่ามะละกอจะเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย ปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่สำคัญคือ โรคใบด่างจุดวงแหวน และการเน่าเสียอย่างรวดเร็วของผลมะละกอ การแก้ปัญหาเนื่องจากการสุกอย่างรวดเร็วมีได้หลายวิธี แต่วิธีที่นำมาศึกษาครั้งนี้ได้แก่ การยับยั้งการสร้างเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการสร้างเอทธิลีน ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสุก (ACC oxidase) หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองได้มะละกอสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ PD/8, PD/90, PDY/138, และ PDY/147 แล้วนำมาตรวจสอบ 1) เปรียบเทียบการแสดงออกของยีน CP-AC01 และ CP-AC02 กับมะละกอที่ไม่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรม 2) เปรียบเทียบอัตราการสร้างเอทธิลีนและคาร์บอนไดออกไซด์ 3) ทดสอบความหวาน (TSS) 4) ตรวจสอบอายุหลังการเก็บเกี่ยว (shelf life) จากผลการทดลองพบว่ามะละกอสายพันธุ์ใหม่พบการแสดงออกของยีน CP-AC01 ที่ช้าลงกว่ามะละกอที่ไม่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรม และอัตราการเกิดเอทธิลีนที่น้อยกว่าในมะละกอที่ไม่ไดับรักการดัดแปรพันธุกรรม (31-41%) ผลการทดสอบมะละกอซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวได้นานกว่าพืชปกติ 5-7 วัน (p<0.001)