การตรวจสอบปริมาณน้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนโดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปคโตรสโคปี
กัลย์ กัลยาณมิตร ธงชัย ยันตรศรี และจินดา ศรศรีวิชัย
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 224 (276 หน้า)
2548
บทคัดย่อ
การตรวจสอบปริมาณน้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนโดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปคโตรสโคปี
ความแก่ของผลิตผลเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อคุณภาพการบริโภคผลไม้หลายชนิด ทุเรียนที่เก็บเกี่ยวในระดับความแก่ที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อคุณภาพเมื่อผลสุก ในปัจจุบัน มีความพยายามนำเกณฑ์ปริมาณน้ำหนักแห้งของเนื้อมาใช้เป็นดัชนีบ่งบอกความแก่ของผลทุเรียน โดยใช้คลื่นไมโครเวฟอบตัวอย่างให้แห้ง อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวต้องใช้เวลาการตรวจสอบจนกว่าน้ำหนักจะคงที่ บ่อยครั้งทำให้ตัวอย่างไหม้ อีกทั้งต้องทำลายตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ เนียร์อินฟราเรด สเปกโตรสโคปี (NIR) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างกว้างขวางกับผลิตผลเกษตร ในงานวิจัยนี้ เทคนิค NIR ถูกนำมาใช้ตรวจสอบปริมาณน้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนที่มีความแก่ของผลแตกต่างกัน ผลการทำ partial least aquares (PLS) calibration ระหว่างช่วงคลื่นที่เหมาะสม 700-950 นาโนเมตร ภายใต้ second derivative ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างการวัดค่าน้ำหนักแห้งจริงกับการวัดโดยใช้เทคนิค NIR ที่ 0.87 โดยมีค่า standard error of calibration (SEC) ที่ 2.56 ค่า standard error of prediction (SEP) ที่ 2.45 และค่า bias ที่ 0.08