ผลของโอโซนและกรดอินทรีย์บางชนิดต่ออายุการเก็บรักษาของผลลำไยสดพันธุ์ดอ
อังคณา เชื้อเจ็ดตน กานดา หวังชัย กอบเกียรติ แสงนิล และจำนงค์ อุทัยบุตร
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 227 (276 หน้า)
2548
บทคัดย่อ
ผลของโอโซนและกรดอินทรีย์บางชนิดต่ออายุการเก็บรักษาของผลลำไยสดพันธุ์ดอ
การศึกษาผลของโอโซนและกรดอินทรีย์บางชนิดต่ออายุการเก็บรักษาของผลลำไยสดพันธุ์ดอ โดยนำผลลำไยมารมด้วยก๊าซโอโซนอัตรา 200 ppm เป็นเวลา 0, 15, 30, 60 และ 120 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25°ซ พบว่า การรมโอโซนเป็นเวลา 60 นาที สามารถควบคุมการเกิดโรคดีที่สุด และการนำผลลำไยมาแช่ในกรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ คือ กรดซิตริก กรดแอสคอร์บิก กรดฟอร์มิก และกรดออกซาลิก พบว่า ความสว่างของสีเปลือกด้านนอกของผลลำไยที่ผ่านการแช่กรดออกซาลิกที่ความเข้มข้น 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความสว่างของสีเปลือกสูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งมีการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือกในน้อยกว่า แต่ผลที่แช่กรดซิตริก กรดแอสคอร์บิก กรดฟอร์มิก และกรดออกซาลิกที่ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ นาน 5 นาที ก่อนนำไปรมด้วยก๊าซโอโซนนาน 60 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5°ซ พบว่า ความสว่างของสีเปลือกด้านนอกมีแนวโน้มลดลง เมื่ออายุการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น แต่ชุดการทดลองที่ผ่านการแช่ด้วยกรดฟอร์มิกก่อนนำไปรมด้วยก๊าซโอโซนนาน 60 นาที สามารถยับยั้งการเกิดโรคได้ตลอดอายุการเก็บรักษาเป็นเวลานาน 30 วัน