บทคัดย่องานวิจัย

การยืดอายุการเก็บรักษาลำไยโดยใช้สารเคมีกันเสียร่วมกับอุณหภูมิต่ำ

สุเมธี เขื่อนมณี วิชชา สอาดสุด และอุราภรณ์ สอาดสุด

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 231. (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

การยืดอายุการเก็บรักษาลำไยโดยใช้สารเคมีกันเสียร่วมกับอุณหภูมิต่ำ การศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีกันเสียร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำในการควบคุมเชื้อราของผลลำไย พบว่า การแช่ผลลำไยในสารละละาย ciritc acid กับ sorbic acid และ citric acid กับ potassium sorbate สามารถชะลอการเกิดโรคได้ดีกว่าการแช่ผลลำไยในสารละลาย sorbic กับ methyl paraben และ methyl paraben กับ citric acid สารละลายที่ประกอบด้วย citric acid สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสีของเปลือกลำไยได้ดีกว่าสารละลายชนิดอื่นๆ และผลลำไยที่ผ่านการแช่ในสารละลายแล้วเก็บรักษาไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำ สารผสมระหว่าง citric acid กับ sorbic acid และ citric acid กับ potassium sorbate ที่อุณหภูมิของสารผสมที่อุณหภูมิห้อง 45, 55 เป็นระยะเวลา 5 นาที 100 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 1 นาที และรมด้วย SO2 พบว่า การแช่ผลลำไยในสารผสมระหว่าง citric acid กับ sorbic acid และ citric acid กับ potassium sorbate ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงของสีเปลือกนอกผลลำไยได้ดีกว่าทุกกรรมวิธีแต่มีอายุการเก็บรักษาเพียง 5 วัน ส่วนการใช้สารผสมที่อุณหภูมิห้อง 45, 55 และรมด้วย SO2 มีผลทำให้ผลลำไยมีอายุการเก็บรักษา 30 วัน