บทคัดย่องานวิจัย

ความบริบูรณ์ที่เหมาะสมในการบ่มมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวายเบอร์ 4

เจริญ ขุมพรม และอภิตา บุญศิริ

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 234 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

ความบริบูรณ์ที่เหมาะสมในการบ่มมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวายเบอร์ 4 การเก็บเกี่ยวมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวายเบอร์ 4 โดยให้เกษตรกรเป็นผู้ประเมินอายุเก็บเกี่ยวที่ระดับความบริบูรณ์ 80, 85 และ 90 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีอายุ 85, 92 และ 99 วันนับจากวันดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ และมีความร้อนสะสมในแปลงปลูกเท่ากับ 1,204.5 1,261.25 และ 1,314.25 CDD ตามลำดับ หลังจากนำมาบ่มโดยใช้ก๊าซเอทิลีนความเข้มข้น 200 พีพีเอ็ม เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับผลมะม่วงที่ไม่ผ่านการบ่ม พบว่า ระดับความบริบูรณ์ของผลมะมะวงไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก การพัฒนาสีเปลือกจากสีเขียวเป็นสีเหลือง ค่าความสว่าง (L) ค่าสีแดง (+a) และค่าสีเหลือง (+b) ของเนื้อผล ความแน่นเนื้อ อัตราส่วนของปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) ปริมาณวิตามินซี และความชอบในการชิม อย่างไรก็ตามพบว่า ผลมะม่วงที่มีความบริบูรณ์ 90 เปอร์เซ็นต์มีค่า +a +b ของเปลือกผล TSS และ TA สูงกว่าผลมะม่วงที่มีความบริบูรณ์ 80 และ 85 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มะม่วงที่ไม่ผ่านการบ่มมีการพัฒนาสีเปลือกจากสีเขียวเป็นสีเหลืองและ TA น้อยกว่าที่ผ่านการบ่ม แต่มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก ค่า +a ของเนื้อผล TSS/TA ปริมาณวิตามินซี และคะแนนความชอบของผู้ชิมสูงกว่าผลที่ผ่านการบ่ม อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ของค่า L +a ของเปลือกและค่า +b ของเนื้อผล ความแน่นเนื้อ และ TSS