บทคัดย่องานวิจัย

การสำรวจกระบวนการผลิตเนื้อลำไยอบแห้งสีทอง

รัตนา อัตตปัญโญ สุรภา จีระสันติกุล และนิธิยา รัตนาปนนท์

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 241 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

การสำรวจกระบวนการผลิตเนื้อลำไยอบแห้งสีทอง ผลการสำรวจกระบวนการผลิตเนื้อลำไยอบแห้งสีทองในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนในช่วงฤดูการปลิตปี พ.. 2547 พบว่า ลักษณะของสถานที่ใช้ผลิตมีทั้งแบบอาคารเปิดโล่ง และแบบอาคารปิดติดมุ้งลวด เตาอบที่ใช้มีทั้งชนิดเตาอบแก๊สและเตาอบฟืน กระบวนการผลิตเนื้อลำไยอบแห้งสีทองเริ่มต้นโดยนำผลลำไยสดร่วงที่คัดเอาเฉพาะเกรด AA และ A มาล้างด้วยน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง คว้านเอาเมล็ดออกด้วยตุ๊ดตู่ หรือปลายช้อนสแตนเลสที่ลับจนคม แกะเอาเปลือกออก นำเนื้อลำไยมาล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้งโดยใช้น้ำบ่อ น้ำบาดาล หรือน้ำประปา อาจมีการแช่ในสารละลายโพแทสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ หรือไม่ก็ได้ การเรียงเนื้อลำไยเข้าอบมีการเรียง 2 ลักษณะ คือ คว่ำลงทีละผล หรือเกลี่ยให้เต็มภาชนะ อุณหภูมิและระยะเวบาที่ใช้ในการอบแห้งมีความผันแปรแตกต่างกันตามลักษณะของเตาอบ กรณีที่เนื้อลำไยยังไม่แห้งตามที่ต้องการจะนำมาตากแดดอีกครั้ง จากนั้นมีการคัดแยกสี ลักษณะการฉีกขาดของผล ก่อนจะนำมาบรรจุเพื่อจำหน่าย