บทคัดย่องานวิจัย

ผลการคัดแยกผลมังคุดด้วยวิธีการแบบไม่ทำลายผล

อัมพิกา ปุนนจิต ธงชัย ยันตรศรี ชมพู จันที และพัฒนะ อรรจนสุพพัต

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 5. 26-29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเวลคัมจอมเทียนบีช พัทยา จังหวัด ชลบุรี. เลขหน้า 246 (276 หน้า)

2548

บทคัดย่อ

ผลการคัดแยกผลมังคุดด้วยวิธีการแบบไม่ทำลายผล การศึกษาผลการคัดแยกมังคุดจำนวน 1,665 ผล แบบไม่ทำลายผลด้วยวิธีการจม-ลอยในน้ำปกติ และวิธี X-ray Computed Tomography (X-ray CT) พบว่า วิธีการจม-ลอยในน้ำปกติ ได้ผลมังคุดลอย ซึ่งเป็นผลดีที่ใช้เพื่อคัดส่งออกญี่ปุ่น (เกรด A) จำนวน 807 ผล หรือเท่ากับ 48% ของผลิตผลทั้งหมด โดยในกลุ่มผลลอยประกอบด้วยสัดส่วนของผลดี เกรด A เท่ากับ 61% และมีผลเสีย (เกรด D) ปะปน 9% ขณะที่มีผลดีแต่เกรดต่ำกว่า A คือ เกรด B และ C ปะปนอยู่ 31% ความถูกต้องของการคัดเพื่อให้ได้ผลดี เกรด A ในกลุ่มผลลอย เท่ากับ 61% ส่วนในกลุ่มผลมังคุดจม ซึ่งเป็นกลุ่มผลที่คัดออก จำนวน 858 ผล หรือเท่ากับ 52% ของผลิตผลทั้งหมด โดยในกลุ่มผลจมประกอบด้วยสัดส่วนของผลเสีย (เกรด D) 25% และมีผลดี เกรด A ปะปน 22% ขณะที่มีผลดี เกรด B และ C ปะปนรวม 59% ความถูกต้องของการคัดเพื่อให้ได้ผลเสีย เกรด D ในกลุ่มผลจม เท่ากับ 24% ค่าความแม่นยำของการมังคุดด้วยวิธีการจม-ลอยในน้ำปกติ เท่ากับ 75% สำหรับวิธี X-ray CT ที่สแกน 1 แนวตามขวางของผล สามารถยัดแยกผลิตผลตามระดับคุณภาพภายในของกลุ่มเกรดต่างๆ 4 กลุ่ม โดยมีความถูกต้องในเกรด A, B, C และ D เท่ากับ 87, 88, 90 และ 66% ตามลำดับ ด้วยความแม่นยำของการคัดมังคุดด้วยวิธี X-ray CT เท่ากับ 84% ขณะที่มีการปะปนของผลเสีย (เกรด D) ในกลุ่มผลดี เกรด A, B และ C เพียง 1, 3 และ 10% ตามลำดับ และมีผลดี เกรด A ปะปนในกลุ่มผลเสีย เกรด D ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดออกเพียง 1% ทั้งนี้ เมื่อมีการสแกน 2 แนวตามขวางและแนวยาวของผล ความถูกต้องในกลุ่มเกรด A, B, C และ D มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 92, 94, 92 และ 94% ตามลำดับ และค่าความแม่นยำของการคัดมังคุดด้วยวิธี X-ray CT เพิ่มขึ้นเป็น 97%