การทดสอบประสิทธิภาพการใช้สารเมทธิโบรไมด์ และสาร ECO2 fume ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกล้วยไม้
ไพศาล รัตนเสถียร, ทวีศักดิ์ ชโยภาส, จีรนุช เอกอำนวย, สมรวย รวมชัยอภิกุล,
รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็มปี 2548. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักษาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 1820 หน้า.
2548
บทคัดย่อ
จากการทดสอบประสิทธิภาพการใช้สารเมทธิลโบรไมด์ในการป้องกันกำตัดเพลี้ยไปกล้วยไม้ในตู้รมสาร โดยใช้เวลารมนาน 90นาที พบว่าสารเมทธิลโบรไมด์ อัตรา 20-24กรัมต่อลูกบาศก์เมตร มี ประสิทธิภาพดีที่สุดสามารถกำจัดเพลี้ยไฟได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพสาร ECO2fumeได้ดำเนินการทดลองในตู้รมสารขนาด 0.50 ลูกบาศก์เมตร วางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 4ซ้ำ 6กรรมวิธี คือ กรรมวิธีปล่อยสารร่มเป็นเวลา 5, 10, 20, 30 และ 60 วินาที ที่ความดัน 40ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เปรียบเทียบกับไม่รมสาร และใช้ระยะเวลารมสารนาน 120นาที จึงเปิดประตูระบายอากาศทิ้งไว้ นาน 30 นาที ประเมินผลกสนทดลองหลังรมสารที่ 0, 3, 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมง ผลปรากฏว่า การทดลองที่ 1พบเพลี้ยไฟตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ตาย 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกกรรมวิธี หลังตรวจเช็คครั้งแรก (0 ชั่วโมง) และไม่พบว่าเพลี้ยไปฟื้นหลังการตรวจนับที่ 3, 6, 12, 24, 48 และ 72ชั่วโมง สำหรับไข่ของเพลี้ยไฟที่ผ่านการรมสาร ECO2fume ปรากฏว่า กรรมวิธีปล่อยสารรมเป็นเวลา 5และ 10วินาที พบไข่ฟักเป็นตัวอ่อน 100เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลอง 8วัน กรรมวิธีปล่อยสารรมเป็นเวลา 20นาที พบไข่ฟักเป็นตัวอ่อน10และ 40เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลอง 8และ 10วันตามลำดับ กรรมวิธีปล่อยสารรม เป็นเวลา 30นาที พบไข่ฟักเป็นตัวอ่อน 10และ 40เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลอง 5และ 6 วันตามลำดับ กรรมวิธีปล่อยสารรม เป็นเวลา 60นาที พบไข่ฟักเป็นตัวอ่อน 10เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลอง 6 วัน โดยตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ในทุกกรรมวิธีมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับไข่ที่ไม่ผ่านการรมสารสามารถฟักเป็นตัวอ่อน 15, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลอง 3, 4 และ 5 วันตามลำดับ เนื่องจากงานทดลองยังไม่สิ้นสุด จะต้องดำเนินการทดลองต่อไป