บทคัดย่องานวิจัย

การกำจัดเพลี้ยแป้งบนผลมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว

เกรียงไกร จำเริญมา, ศรุต สุทธิอารมณ์, ศรีจำนรรจ์ พิชิตสุวรรณชัย, วิภาดา ปลอดครบุรี่ และ สัญญาณี ศรีคชา

รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็มปี 2548. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักษาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 1820 หน้า.

2549

บทคัดย่อ

การกำจัดเพลี้ยแป้งบนผลมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว

 

การศึกษาการกำจัดเพลี้ยแป้งในผลมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว ทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มกีฏและสัตววิทย สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างตุลาคม 2546 – กันยายน 2548โดยการศึกษาในปี 2547 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4ซ้ำ ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี คือ การ เป่าลม พ่นน้ำเปล่า จุ่มสาร chlorpyrifos (Lorsban 40% EC)  malathion (Malathion 83% EC) น้ำมันปิโตเลียม  (SK99 89.3% EC) น้ำยาล้างจาน (ซันไลต์) เปรียบเทียบกับการจุ่มน้ำเปล่า พบว่า การจุ่มสาร chlorpyrifos (Lorsban 40% EC)อัตรา 8มิลลิลิตรต่อน้ำ 10ลิตรนาน 1นาที ให้ผลดีที่สุด รองลงมา คือการเป่าลม และพ่นน้ำด้วยแรงดัน 20ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นานผลละ 15วินาที และการจุ่ม น้ำมันปิโตเลียม  (SK99 89.3% EC)อัตรา 8มิลลิลิตรต่อน้ำ 10ลิตรหลังทดสอบ 7วัน พบ สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้ 100, 95.00, 95.31 และ 96.82 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบในปี 2548วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4ซ้ำ ประกอบด้วย 8กรรมวิธี คือ จุ่ม imidacloprid (Corfidor 10% SL) อัตรา 8มิลลิลิตร petroleum spray oil (SK99 89.3% EC) อัตรา 8มิลลิลิตรต่อน้ำ 10ลิตรสารสกัดหางไหล สูตร 1และ 2 มีสาร rotenone 1เข้มข้น 171 และ 162 ppm ตามลำดับ เป่าลมแรงดัน 20ปอนด์/ตารางนิ้ว นาน 15วินาที/ผล และจุ่มน้ำเปล่าเปรียบเทียบกับการจุ่มสาร chlorpyrifos (Lorsban 40% EC)อัตรา 8มิลลิลิตรต่อน้ำ 10ลิตรและ control ซึ่งไม่จุ่มสารฯ และไม่เป่าลม พบ การจุ่มนาน 1วินาที วิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งบนผลมังคุดสูงสุด คือการจุ่มสาร chlorpyrifosและการเป่าลมโดยเฉพาะหลังการทดสอบ 7วัน กำจัดเพลี้ยแป้งบนผลมังคุดได้ 100 และ 99.10% ตามลำดับ รองลงมา คือการจุ่มน้ำมันปิโตเลียม สารสกัดหางไหลสูตร 1และ imidaclopridมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้ 85.81, 73.47 และ 71.71% ตามลำดับ ถ้าจุ่มนาน 2 นาที วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งหลังการทดสอบ 7วัน พบว่า การจุ่ม chlorpyrifosและการเป่าลม มีเพลี้ยแป้งตาย 100 และ 98.69% ตามลำดับ ส่วนการจุ่ม  imidaclopridและมันปิโตเลียม มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพิ่มเป็น90.06 และ 90.99% ตามลำดับ สำหรับสารสกัดหางไหลประสิทธิภาพไม่เพิ่มขึ้น