ผลกระทบของสับปะรดตัดจุกหลังการรมด้วย Methyl bromide
ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช, พรพิมล อธิปัญญาคม และทวีศักดิ์ แสงอุดม
รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็มปี 2548. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักษาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 1820 หน้า.
2549
บทคัดย่อ
การศึกษาผลกระทบของการรมสับปะรดที่ตัดจุกด้วย methyl bromide ดำเนินการทดลองที่ บริษัท Dole อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ในระหว่าง เดือนตุลาคม 2546 – กันยายน 2548ดำเนินการ 4กรรมวิธี คือ ตัดจุกสับประรด ตัดจุกผลสับปะรดรม methyl bromideไม่ตัดจุกผลสับปะรด และไม่ตัดจุกผลสับปะรดรม methyl bromideการตรวจศัตรูพืชหลังจากการรม methyl bromide7วัน พบเพลี้ยแป้งที่ยังมีชีวิตบริเวณจุกของสับปะรดในกรรมวิธีไม่ตัดจุกและไม่รม methyl bromideนอกจากนี้พบไรแดงที่มีชีวิตจำนวนมาก กรรมวิธีไม่ตัดจุกรมด้วย methyl bromideพบเพลี้ยแป้ง และไรแดงตาย 100% การตรวจเชื้อสาเหตุโรคพืชพบเชื้อรา Penicillium, Phoma sp. และ Alternaria sp ขึ้นบริเวณรอยตัดทุกผล
การศึกษาด้านคุณภาพของผลสับปะรดหลังการทดลองพบว่าลักษณะสีผิวเปลือก สีเนื้อในผล ความหนาแน่นของผล ปริมาณวิตามิน C ของแต่ละกรรมวิธีไม่แตกต่างกันทางสถิติหลังจากการรมด้วย methyl bromideเป็นเวลา 7วัน ส่วนปริมาณของแข็งที่วัดได้ และปริมาณกรดไม่แตกต่างกันทางสถิติในกรรมวิธีตัดจุก และกรรมวิธีตัดจุกรมด้วย methyl bromide