บทคัดย่องานวิจัย

โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในห้องปฏิบัติการ

จิรากร โกศัยเสวี, ศิริพันธ์ สุขมาก, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, จินตนา ภู่มงกุฎชัย และ ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ

โครงการวิจัยระดับดีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินรายได้การดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ประจำปี 2549. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 50 หน้า

2549

บทคัดย่อ

โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในห้องปฏิบัติการ

การพัฒนาเทคนิคและวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างเพื่อให้ได้วิธีวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐาน สามารถตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างได้จำนวนมากชนิดและปริมาณความเข้มข้นต่ำๆ ในคราวเดียวกัน โดยวิธีดังกล่าวจะต้อง มีความถูกต้องแม่นยำ เหมาะสม รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ เสียค่าใช้จ่ายน้อย  นำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในพืชส่งออก 12ชนิด ด้วยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ รวม 4วิธี ได้แก่ วิธีวิเคราะห์ที่ 1 การ modified method ของ Steinwandter โดยใช้ acetone, dichloromethane และ NaCl ในการสกัด clean up ด้วย silica gel และ elute ด้วย hexane:dichloromethane ในอัตราส่วน 4:1 และ 1:1 v/v วิธีวิเคราะห์ที่ 2การ modified method ของ Holland et al. และ Wong โดยใช้ ethyl acetate ในการสกัด clean up ด้วย florisil และ elute ด้วย hexane:dichloromethane ในอัตราส่วน 4:1 และ 1:1 v/v วิธีวิเคราะห์ที่ 3  การ modified method ของ Kobe Quarantine Station โดยใช้ ethyl acetate สกัด clean up ด้วย PSA และ SAX และ elute ด้วย acetone:hexane ในอัตราส่วน 4:1 และ 1:1 v/v วิธีวิเคราะห์ที่ 4  การ modified method ของ QuEChERS โดยใช้ acetonitrile, MgSO4 และ NaCl ในการสกัดและใช้ PSA และ SAX และ  MgSO4ในการ clean upนำวิธีวิเคราะห์ทั้ง 4วิธี มาพิสูจน์ความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ (method validation) ด้วยเทคนิค fortified sample ในตัวอย่างข้าวโพดฝักอ่อนที่ความเข้มข้นของสารพิษตกค้าง 0.01-0.5 mg/kg และการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างจำนวน 31ชนิด ด้วยเครื่อง gas chromatograph ตาม parameter ที่ทดสอบ ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีวิเคราะห์ที่ 1-4 มี linearity/range ของสารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและไพรีทรอยด์อยู่ในช่วง 0.01-3 mg/kg และเอ็นโดซัลแฟน 0.0004-0.12mg/kg accuracy ของทุกวิธีวิเคราะห์ เมื่อนำมาตรวจสารพิษตกค้างทุกชนิดที่ความเข้มข้นสูงผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือมี % recovery อยู่ในช่วง 70-120 precision ของทุกวิธีวิเคราะห์เมื่อผ่านการตรวจสารพิษตกค้างแล้วให้ค่า HORRAT ไม่เกิน 2ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ และค่า %RSD น้อยกว่า 20 limit of quatitation (LOQ) ของแต่ละวิธีวิเคราะห์ใกล้เคียงกัน