บทคัดย่องานวิจัย

วิจัยปริมาณสารพิษตกค้าง Cypermethrin และ Chlorpyrifos ในลำไยเพื่อกำหนดค่าสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 5 และ 6

รัชนี สุวภาพ, ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ และศิริพันธ์ สุขมาก

บทคัดย่อผลการทดลองสิ้นสุดโครงการวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตรปีงบประมาณ 2549. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. 150 หน้า.

2549

บทคัดย่อ

วิจัยปริมาณสารพิษตกค้าง Cypermethrin และ Chlorpyrifos ในลำไยเพื่อกำหนดค่าสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 5 และ 6

 

การศึกษาการสลายตัวของ Cypermethrin และ Chlorpyrifos ได้กระทำการทดลองในเดือนเมษายน –มิถุนายน 2549ในแปลงของเกษตรกรจำนวน 2แห่งคือที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี โดยทำการฉีดพ่นวัตถุมีพิษนูเรลล์-ดี 505 ซึ่งประกอบไปด้วยคลอโรไพรีฟอส 50% W/V EC ไซเปอร์เมทริน 5% W/V EC ลงบนต้นลำไยในแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบพิเศษสำหรับทำ supervised residue trial มี 2การทดลอง คือไม่พ่นวัตถุมีพิษและพ่นวัตถุมีพิษในอัตราที่ฉลากกำหนดคือ 30มิลลิลิตรต่อน้ำ 20ลิตรมีการทดลองละ 3 replications โดย 1 replications ใช้ต้นลำไย 4ต้น และพ่นวัตถุมีพิษ จำนวน 4 ครั้งโดยห่างครั้งละ 7วัน ได้เก็บผลลำไยมาตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง Cypermethrin และ Chlorpyrifosโดยตรวจเนื้อและเปลือกรวมกันหลังการพ่นครั้งสุดท้ายที่ 0 วัน 10  วัน  14  วัน 22 วัน และ -0วัน รวม 5ครั้ง ได้ผลการทดลองดังนี้ แปลงทดลองที่ 1 พบ Cypermethrinในปริมาณ 1.08, 0.41, 0.29 และ 0.14 mg/kg ตามลำดับ พบ Chlorpyrifosในปริมาณ 4.98, 0.36, 0.26 และ 0.14 mg/kg ตามลำดับ

แปลงทดลองที่ 2 พบ Cypermethrinในปริมาณ 1.18, 0.59, 0.42, 0.30 และ 0.29 mg/kg ตามลำดับ พบ Chlorpyrifosในปริมาณ 3.90, 0.28, 0.16, 0.08 และ 0.05 mg/kg ตามลำดับ และระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวสำหรับสารพิษตกค้างคลอไพริฟอสและไซเปอร์เมทริน เท่ากับ 13วัน (อ้างอิงจาก Codex MRLs) จากการสุ่มเก็บตัวอย่างผลลำไยจากแหล่งจำหน่ายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนมากเป็นลำไยพันธุ์อีดอจำนวน 20ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างพบว่า สารพิษตกค้างที่พบมี 2ชนิดคือ Cypermethrin และ Chlorpyrifos สาร Cypermethrinพบจำนวน 11ตัวอย่าง (55% ของตัวอย่างทั้งหมด) มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.01-0.22 mg/kg Chlorpyrifosพบจำนวน 9ตัวอย่าง (45% ของตัวอย่างทั้งหมด) มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.01-0.03 mg/kg