รวบรวมและจำแนกเชื้อราสกุล Colletotrichum สาเหตุของโรคแอนแทรกโนสของไม้ผลและพืชเศรษฐกิจ
ธารทิพย ภาสบุตร, ธนิตย์ ปล่องบรรจล และ กรรณิการ์ เพี้ยนภักตร์
รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็ม ปี 2546. สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช. 2547. หน้า 894-909.
2547
บทคัดย่อ
จากการรวบรวมตัวอย่างพืชที่เป็นแอนแทรกโนส (anthracnose) ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ กาญจนบุรี ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ชุมพร ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ปราจีนบุรี พังงา พิจิตร เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำพูน ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สุโขทัย หนองคายและอุบลราชธานี แล้วนำมาแยก Colletotrichumซึ่งเป็นสาเหตุโรค โดยใช้วิธี Tissue Transplant Technique แล้วศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของราที่เลี้ยงบนอาหาร PDA ภายใต้แสง NUV 12ชั่วโมง สลับกับความมืด 12ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25องศาเซลเซียสและลักษณะของแอพเพรสซอเรีย (appressoria) จากการเลี้ยงแบบ slide culture บนอาหาร PCA ที่บ่มไว้ในสภาพเดียวกัน เพื่อการจำแนกชนิด ผลการศึกษารา Colletotrichumที่แยกได้ 110ไอโซเลท สามารถจำแนกชนิด (species) ได้ 5 ชนิด คือ 1. Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. เป็นสาเหตุโรคแอนเทรกโนสในฝรั่ง มะละกอ ชมพู่ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ อโวกาโด องุ่น มะขามเทศ กาแฟ ยางพารา หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ กุยช่าย พริกไทย หน่อไม้ฝรั่ง พริก หน้าวัว ดาหลา และกุหลาบ 2. Colletotrichumcapsici (Syd.) Butl. & Bisby เป็นสาเหตุโรคแอนเทรกโนสของ พริก และมะละกอ 3. Colletotrichum circinans (Berk.) Vogl. เป็นสาเหตุโรคแอนเทรกโนสของหอมแบ่ง 4. Colletotrichumacutatum Simmonds เป็นสาเหตุโรคแอนเทรกโนสของพริก และสตรอเบอร์รี่ 5.Colletotrichum truncatum (Schr.) Andrus & Moore เป็นสาเหตุโรคแอนเทรกโนสของถั่วเหลือง และถั่วแดงหลวง