ผลของการใช้สารเคลือบผิว การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลงและการใช้แคลเซียม-โบรอน ที่มีต่อคุณภาพและการเกิดไส้สีน้ำตาลของสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง
ทวีศักดิ์ แสงอุดม จงวัฒนา พุ่มหิรัญ และเบญจมาส รัตนชินกร
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2544. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 2545.
2545
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการใช้สารเคลือบผิว การเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลงและการใช้แคลเซียม-โบรอน โดยดำเนินการที่สวนเกษตรกร อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และอาการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยพืชสวน พบว่าการใช้สารเคลือบผิว Sta-Fresh 7055 10%มีเกิดอาการไส้สีน้ำตาลหลังการเก็บรักษา 2 3 และ 4สัปดาห์ต่ำกว่าการไม่ใช้สารเคลือบผิว โดยเกิดไส้สีน้าตาล 8.3 20 และ 22.7%ตามลำดับ ส่วนการไม่เคลือบผิวจะเกิดไส้สีน้ำตาล 16.7 50 และ 60%ตามลำดับ การเคลือบผิวและใส่ในถุงพลาสติก PEเจาะรู เกิดไส้สีน้ำตาลหลังการเก็บรักษา 3และ 4สัปดาห์ ต่ำกว่า controlแต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้สารเคลือบผิว Sta-Fresh 7055 10%ส่วนการใช้แคลเซียม (27.5% CaO)อัตรา 8กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง โดยใส่ครั้งแรกหลังการออกดอก และใส่ครั้งที่ 2 และ 3หลังจากใส่ครั้งแรก 1 และ 2เดือน หลังการเก็บรักษาที่ 8องศาเซลเซียส 20วัน จะเกิดไส้สีน้ำตาลต่ำ โดยเกิดไส้สีน้ำตาลเล็กน้อย 6%และมีปริมาณวิตามินซีสูง 33.6มิลลิกรัมต่อ 100กรัม แตกต่างทางสถิติกับ controlซึ่งเกิดไส้สีน้ำตาลสูงถึง 20%และมีปริมาณวิตามินซีต่ำ 26.7มิลลิกรัมต่อ 100กรัม ส่วนคุณภาพด้านอื่น ๆ เช่น เปอร์เซ็นต์ TSSเปอร์เซ็นต์ TA ความแน่นเนื้อ และ pHน้ำคั้น จะไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำผลหลังจากเก็บที่ 8องศาเซลเซียสมาไว้ที่ 18องศาเซลเซียสอีก 2วัน พบว่าการใช้แคลเซียม 8กิโลกรัมต่อไร่ เกิดไส้สีน้ำตาลต่ำสุด 18.4%แตกต่างทางสถิติกับ controlและที่ใช้แคลเซียม 16กิโลกรัมต่อไร่ เกิดไส้สีน้ำตาล 28.5และ 24.6%ตามลำดับ