การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อสมรรถนะของเครื่องกะเทาะถั่วลิสงแบบล้อยางสำหรับกะเทาะถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-1
สมโภชน์ สุดาจันทร์
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) สาขาวิชาเครื่องจักรกลการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534. 106 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
- การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อสมรรถนะของเครื่องกะเทาะถั่วลิสงแบบล้อยางสำหรับกะเทาะถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-1 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงเครื่องกะเทาะถั่วลิสงแบบล้อยางสำหรับถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-1 ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย:
- ระยะห่างระหว่างซี่ตะแกรงกะเทาะ 6 ระดับ โดยมีขนาดเล็กกว่าขนาดกว้างสุดโดยเฉลี่ยของเมล็ดถั่วลิสง 0.5 มม. และโตกว่าขนาดกว้างสุดโดยเฉลี่ยของเมล็ด 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 มม.
-
- ระยะห่างระหว่างล้อยางและตะแกรงกะเทาะ 4 ระดับ โดยมีขนาดโตกว่าขนาดกว้างสุดโดยเฉลี่ยของเมล็ด 0.5, 3.5, 6.5 และ 9.5 มม.
- ความเร็วของล้อยางกะเทาะ 5 ระดับ (3.86, 5.41, 6.95, 8.50, และ 10.04 ม./วินาที)
-
- อัตราการป้อนฝักถั่วลิสง 4 ระดับ (250, 300, 350 และ 400 กก./ชม.)
- ความชื้นฝักถั่วลิสง 4 ระดับ (5.28, 9.66, 11.97 และ 15.58% (wb))
- นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบตะแกรงกะเทาะ ซึ่งรูปแบบตะแกรงกะเทาะที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ตะแกรงกะเทาะแบบที่วางซี่ตะแกรงในแนวแกนของเพลาขวางทิศทางการหมุนของล้อยางกะเทาะ โดยที่ซี่ตะแกรงในช่วงตำแหน่งที่เกิดการกะเทาะสามารถหมุนได้โดยอิสระ ขณะกำลังกะเทาะ และตะแกรงกะเทาะแบบวางซี่ตะแกรงโค้งตามแนวทิศทางการหมุนของล้อยางกะเทาะ ค่าที่ใช้วัดผลการทำงานของเครื่องกะเทาะถั่วลิสงแบบล้อยาง ได้แก่ เปอร์เซ็นต์กะเทาะและเปอร์เซ็นต์เมล็ดแตกหัก ผลการวิจัยสามารถสรุปแนวทางการปรับปรุงเครื่องกะเทาะถั่วลิสงแบบล้อยางสำหรับกะเทาะถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-1 ได้ดังนี้
-
- ตะแกรงที่ใช้กะเทาะควรเป็นตะแกรงกะเทาะแบบที่วางซี่ตะแกรงในแนวแกนของเพลาขวางทิศทางการหมุนของล้อยางกะเทาะ โดยที่ซี่ตะแกรงในช่วงตำแหน่งที่เกิดการกะเทาะสามารถหมุนได้โดยอิสระขณะกำลังกะเทาะ ซึ่งตะแกรงกะเทาะดังกล่าวควรมีระยะห่างระหว่างซี่ตะแกรงโตกว่าขนาดกว้างสุดโดยเฉลี่ยของเมล็ดถั่วลิสง 0.5-1.0 มม.