การออกแบบและประเมินผลเครื่องอัดแท่งปุ๋ยคอก
เสมอขวัญ ตันติกุล
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2536. 155 หน้า.
2535
บทคัดย่อ
การออกแบบและประเมินผลเครื่องอัดแท่งปุ๋ยคอก
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินผลเครื่องอัดแท่งปุ๋ยคอกซึ่งแนวทางการศึกษา
ครั้งนี้ประกอบด้วย การประเมินผลเบื้องต้นการอัดแท่งปุ๋ยคอกโดยเครื่องอัดแท่งแบบเกลียวอัด
การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบ และการประเมินผลเครื่องอัดแท่งปุ๋ยคอกต้นแบบ
ทั้งนี้โดยใช้ ความสามารถในการทำงาน เปอร์เซ็นต์การลดปริมาตรปุ๋ยคอก เป็นค่าชี้สมรรถนะในการทำงาน
ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1) หลักการอัดแท่งโดยใช้เกลียวอัดแบบไม่ใช้ความร้อน
มีแนวโน้มที่เหมาะสมในการนำมาอัดแท่งปุ๋ยคอก เพราะมีลักษณะการทำงานที่ง่ายไม่ซับซ้อน
และสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องแต่การใช้เครื่องอัดเชื้อเพลิงเขียวเพื่ออัดแท่งปุ๋ยคอก
จะไม่สะดวกต่อการใช้งาน เพราะขาดอุปกรณ์ผสมและอุปกรณ์ป้อน ตลอดจนไม่สามารถตัดแท่งปุ๋ยคอกได้
2) การผสมแป้งมันกับปุ๋ยคอก จะทำให้แท่งปุ๋ยคอกทนต่อโมเมนต์ปิดและแรงกระแทกที่ทำให้แท่งปุ๋ยคอกแตกหักได้เพิ่มขึ้น
แต่มีผลทำให้แท่งปุ๋ยคอกขยายตัว ทำให้มีปริมาตรลดลงไม่มากเท่าที่ควร เกิดการแตกร้าว
และมีความโก่งมากขึ้น ส่วนการผสมชานอ้อย แม้จะทำให้แท่งปุ๋ยคอกมีปริมาตรลดลงได้มาก
แต่จะมีความโก่งสูง และปริมาณเนื้อปุ๋ยคอกจะลดลง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวจึง
ไม่ควรผสมวัสดุอื่นกับปุ๋ยคอกเพื่อการอัดแท่ง
3) การป้อนปุ๋ยคอกเพียงครั้งเดียวหรือการแบ่งป้อน
ไม่ทำให้ปริมาตรปุ๋ยคอกภายหลังการอัดแท่งต่างกัน
4) ปุ๋ยคอกที่มีน้ำผสมมากจะสามารถยุบตัวได้มากกว่าปุ๋ยคอกที่มีน้ำผสมอยู่น้อย
แต่ระยะยุบตัวของปุ๋ยคอก จะแตกต่างกันน้อยลง เมื่อใช้ความดันมากกว่า 116 กิโลนิวตัน/ตารางเมตร
ซึ่งมีระยะยุบตัวเฉลี่ย 63 เปอร์เซ็นต์
5) เครื่องอัดแท่งปุ๋ยคอกต้นแบบใช้หลักการอัดแท่งแบบต่อเนื่องโดยอาศัยเกลียวอัดและไม่ใช้ความร้อน
ซึ่งออกแบบให้สามารถทำงานแบบต่อเนื่อง คือ ผสมปุ๋ยคอก ป้อนปุ๋ยคอกเพื่ออัด อัดแท่งปุ๋ยคอก
และตัดท่อนแท่งปุ๋ยคอก ตามลำดับ เครื่องต้นแบบนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ อุปกรณ์ผสม
อุปกรณ์ป้อน อุปกรณ์อัดแท่ง และอุปกรณ์ตัดท่อนแท่งปุ๋ยคอก มีอัตราการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ
51.68 กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง/ชั่วโมง หรือประมาณ 491 แท่ง/ชั่วโมง และสามารถลดปริมาตรปุ๋ยคอกเฉลี่ยเท่ากับ
43.24 เปอร์เซ็นต์
6) การอัดแท่งปุ๋ยคอกที่มีดินผสมเกิน 10%
จะทำให้แท่งปุ๋ยคอกทนต่อโมนต์ปิดและแรงกระแทกได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับแท่งปุ๋ยคอกที่ไม่มีดินผสม
แต่จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเครื่องอัดแท่งปุ๋ยคอกลดลงอย่างมาก โดยที่การลดปริมาตรและความโก่งไม่แตกต่างกัน
ดังนี้จึงควรใช้ปุ๋ยคอกที่มีดินผสมอยู่น้อยที่สุดเพื่อการอัดแท่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงความสามารถในการทำงานเมื่อคิดเฉพาะเนื้อปุ๋ย