ผลของรังสีแกมมาต่อการกำจัดเพลี้ยไฟและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์บอม#17
มัณฑนา บัวหนอง
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 88 หน้า.
2543
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของสารเคมีและสารปฏิชีวนะที่มีต่อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกัน และสรีรวิทยาของดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์บอม#17 เมื่อทดสอบสารปฏิชีวนะต่าง ๆ ร่วมกับ Nutrient agar (NA) Streptomycin 100 mg/1 + NA, Streptomycin 1000 mg/l + NA, Tetracycline 100 mg/l + NA, Tetracycline 1000 mg/l + NA, Penicillin 100 mb/l + NA, Aureomycin 50 mg/l + NA และ AgNo3 30 mg/l + NA พบว่า สารปฏิชีวนะต่าง ๆ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของประชากรเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดในน้ำปักแจกันได้ในสภาพ In vivo มีเพียงเพนนิซิลินเท่านั้นที่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของประชากรแบคทีเรียทั้งหมดได้ และเมื่อใช้สารปฏิชีวนะร่วมกับน้ำยาเคมี พบว่า Streptomycin 100 mg/l + HQS 225 mg/l + sucrose 4 % สามารถยืดอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้หวาย คือ 16.50 วัน และมีการบานของดอกตูมร้อยละ 59.72 การใช้ AgNo3 30 mg/l + HQS 225 mg/l + sucrose 4 % ดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์บอม#17 จะเห็นได้ว่ามีอายุการใช้งานนาน 24 วัน มีการบานของดอกตูมร้อยละ 62.50 ในขณะที่การใช้สารปฏิชีวนะร่วมกับ sodium benzoate คือ Streptomycin 100 mg/l + Sodium benzoate 200 mg/l + HQS 225 mg/l + sucrose 4 % มีประสิทธิภาพในการยืดอายุการใช้งานสูงสุด คือ 27.2 วัน และมีการบานของดอกตูมร้อยละ 61.67