บทคัดย่องานวิจัย

การใช้ sodium bicarbonate, acctaldehyde และ acctie acid ในการควบคุมเชื้อรา Botryodiplodia theobromae สาเหตุโรคผลเน่าของเงาะ

ธิติมา วงษ์ชีรี ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์ อภิรดี อุทัยรัตนกิจ เฉลิมชัย วงษ์อารี วาริช ศรีละออง และนฤมล เอี่ยมเดช

รายงานการวิจัย สายวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ. 2543. 54 หน้า.

2543

บทคัดย่อ

การใช้ sodium bicarbonate, acctaldehyde และ acctie acid ในการควบคุมเชื้อรา Botryodiplodia theobromae สาเหตุโรคผลเน่าของเงาะ

                การศึกษาผลของ  sodium  bicarbonate,  acetaldehyde  และ  acctic  acid  ต่อการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะพันธุ์โรงเรียนที่เกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromae  พบว่าเมื่อผสม  sodium  bicarbonate,  acctaldehyde  และ  acctic  acid    ที่ความเข้มข้นร้อยละ  1.5, 10  และ  4  ppm  ตามลำดับ  สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromac  ได้

                การควบคุมโรคของผลเงาะที่ได้รับการปลูกเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromac  ด้วย  sodium  bicarbonate,  acctaldehyde  และ  acctic  acid  ที่มีอุณหภูมิ  40  องศาเซลเซียส  และอุณหภูมิปกติ  นาน  30  และ  10 นาที   สามารถลดความรุนแรงของโรคได้  แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  แต่บริเวณผิวและขนของเงาะจะเกิดความเสียหายเนื่องจาก   acetaldehyde  การควบคุมโรคด้วย  Sodium  bicarbonate,  acctaldehyde  และ  acctic  acid   ร่วมกับการควบคุมสภาพบรรยากาศสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ดีกว่าการใช้การควบคุมสภาพบรรยากาศเพียงอย่างเดียว  นอกจากนี้การควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้นร้อยละ  10  และ  15  การสูญเสียน้ำหนัก  ความแน่นเนื้อ  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้  ปริมาณกรด  ค่าความเป็นกรด-ด่างของเปลือก  สีเปลือก  อัตราการหายใจ   อัตราการผลิตเอทิลีน  และการยอมรับของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ