การอบแห้งต้นหอมด้วยวิธีฟลูอิไดเซชัน
วิชัย เพชรดาษดา
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2540. 89 หน้า.
2540
บทคัดย่อ
งานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการอบแห้ง ต้นหอมสับ และพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับทำนาย อัตราการอบแห้งโดยวิธีฟลูอิไดเซชัน โดยทำการทดลองในช่วงอุณหภูมิ 75-105OC อัตราการไหลจำเพาะของอากาศระหว่าง 0.787 – 1.104 Kg/s-kg dry matter ความชื้นเริ่มต้น ต้นหอมสับ 93-94% มาตรฐานเปียก และความชื้นสุดท้ายของต้นหอมสับ ประมาณ 12-25 % มาตรฐานเปียก ผลการทดลองพบว่าความเร็วต่ำสุดที่ทำให้เกิดฟลูอิไดเซชัน มีค่าประมาณ 1.36, 1.2, 0.95, 0.62 ณ ความชื้นที่เริ่มต้น 95 %, 71%, 56 %, %% มาตรฐานเปียก ตามลำดับ โดยที่อุณหภูมิของอากาศ 32OC ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราการอบแห้งของฟลูอิไดซ์เบด ได้แก่ อุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าเบด และอัตราการไหลจำเพาะของอากาศ ผลจากการเปรียบเทียบแบบจำลอง การอบแห้ง 5 แบบที่นำมาใช้ทำนายอัตราการอบแห้ง ปรากฏว่า รูปแบบ สมการของ Page สามารถทำนายได้ ใกล้เคียงกับข้อมูล การทดลองในด้านสีของผลิตภัณฑ์ควรใช้อุณหภูมิในการอบแห้งไม่เกิน 75OC ผลิตภัณฑ์จะเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับได้