บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการทำ Hydrocooling และสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพการเก็บรักษาและอายุการวางจำหน่ายของข้าวโพดหวาน

วิษณุ นิยมเหลา

วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2542. 171 หน้า

2542

บทคัดย่อ

ผลของการทำ Hydrocooling และสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพการเก็บรักษาและอายุการวางจำหน่ายของข้าวโพดหวาน

                การศึกษาผลของการลดอุณหภูมิโดยการใช้น้ำเย็นและสภาพบรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพการเก็บรักษาและอายุการวางจำหน่ายของข้าวโพดหวาน  โดยแบ่งเป็น  3 การทดลองคือ  การทดลองที่ 1  ศึกษาผลของการลดอุณหภูมิโดยการใช้น้ำเย็นที่ระดับอุณหภูมิ 1  และ  5  องศาเซลเซียส  เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่  25 องศาเซลเซียส  เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ 25 องศาเซลเซียสและระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยว 0  (หลังการเก็บเกี่ยวทันที)  4  8  และ  12  ชั่วโมง  พบว่าการลดอุณหภูมิข้าวโพดหวานโดยการใช้น้ำเย็นที่อุณหภูมิ  1  องศาเซลเซียส  ภายหลังการเก็บเกี่ยว  0  และ  4  ชั่วโมง  มีผลในการชะลอการสูญเสียปริมาณน้ำตาลซูโครส  อัตราการหายใจ  และการสูญเสียน้ำหนักได้ดีกว่าข้าวโพดหวานที่ไม่ผ่านการลดอุณหภูมิโดยการใช้น้ำเย็นและข้าวโพดหวานที่ผ่านการลดอุณหภูมิโดยการใช้น้ำเย็นที่อุณภูมิ  5  องศาเซลเซียส  หลังเวลาการเก็บเกี่ยว 8  และ 12 ชั่วโมง  การทดลองที่ 2  ศึกษาผลของชนิดภาชนะบรรจุ  คือ  ถุงพลาสติกชนิด  Polyethylene  (PE)  และ  Polypropylene  (PP)  ที่เจาะรูและไม่เจาะรู  และชุดควบคุมต่อคุณภาพการเก็บรักษาข้าวโพดหวานที่อุณหภูมิ 1  และ  5  องศาเซลเซียส พบว่าการเก็บรักษาข้าวโพดหวานที่อุณหภูมิ 1  องศาเซลเซียสร่วมกับถุงพลาสติก  PE  และ  PP  ที่ไม่เจาะรู  สามารถรักษาคุณภาพของข้าวโพดหวานได้ดีกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5  องศาเซลเซียสร่วมกับภาชนะบรรจุชนิดต่าง ๆ  โดยมีผลในการรักษาปริมาณน้ำตาลซูโครส  ลดอัตราการหายใจ  และมีอายุการเก็บรักษา  14  วัน  ส่วนการเก็บรักษาข้าวโพดหวานที่อุณหภูมิ  5 องศาเซลเซียสร่วมกับภาชนะบรรจุชนิดต่าง ๆ  โดยมีผลในการรักษาปริมาณน้ำตาลซูโครสลดอัตราการหายใจ  และมีอายุการเก็บรักษา  14 วัน  ส่วนการเก็บรักษาข้าวโพดหวานที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสร่วมกับถุงพลาสติก  PE  และ  PP  ไม่เจาะรู  พบว่าทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติที่ผิดปกติ เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4  ของการเก็บรักษา  การทดลองที่ 3  ศึกษาผลของฟิล์มพลาสติกชนิด  Linear  Low  Density Polyethylene  (LLDPE)   ความหนา  15  และ  25  ไมโครเมตร  ฟิล์มพลาสติก  Polyvinyl Chloride (PVC)  และ  Polyvinyl Dichloride  (PVDC)  ความหนา  15  ไมโครเมตร  และชุดควบคุมที่อุณหภูมิ  5±2 องศาเซลเซียส  ต่ออายุการวางจำหน่ายของข้าวโพดหวาน  พบว่าการหุ้มข้าวโพดหวานด้วยฟิล์มพลาสติก  PVC  และ  PVDC  มีอายุการวางจำหน่าย  6 วัน  ส่วนการหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติก  LLDPE  ความหนา  15  และ  25  ไมโครเมตร  และ ข้าวโพดหวานชุดควบคุมมีอายุการวางจำหน่าย  4  4  และ  2 วัน ตามลำดับ  โดยการหุ้มข้าวโพดหวานด้วยฟิล์มพลาสติก  PVC  และ  PVDC  ช่วยชะลอการสูญเสียน้ำตาลซูโครส และลดอัตราการหายใจได้ดีกว่าการใช้ฟิล์มพลาสติกชนิด  LLDPE  ทั้ง  2  ระดับความหนา  แต่การหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติกชนิดดังกล่าวทำให้มีการสูญเสียน้ำหนักมากกว่า