บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารเคมีที่มีต่อการสลายตัวของปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบเฟิร์นนาคราช

ฐิติมา สุคนธ์วิมลมาลย์

วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2541. 128 หน้า.

2541

บทคัดย่อ

ผลของสารเคมีที่มีต่อการสลายตัวของปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบเฟิร์นนาคราช

                เฟิร์นนาคราช  (Ball fern :  Davallia sp.)  ใช้ประโยชน์ในรูปไม้ตัดใบของการปักแจกัน  แต่พบปัญหาอายุการปักแจกันสั้นคือ 7 วัน  และใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  ในการศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต และ  chelating agents  ต่อการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ในเฟิร์นนาคราชเพื่อยืดอายุการปักแจกัน  โดยใช้วิธีการจุ่มใน  benzyladenine  ในความเข้มข้น 0,  25,  50  และ  75  ppm  1  นาที  และปักแช่ใน  gibberellic acid   ที่ระดับความเข้มข้น 20,  40 และ  60  ppm,  O-phenanthroline  ความเข้มข้น 0.03,  0.3  และ  3  mM  และ  2,2-dipyridyl  ความเข้มข้น 0.01, 0.1  และ  1mM  พบว่า  ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการเปลี่ยนแปลงของปริมาณรงควัตถุในใบกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตและ  chelating  agents  ปริมาณ  total non-structural carbohydrate  และ  โปรตีนมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของ  benzyladenine  สูงขึ้น  แต่ค่า  b  value  (การเปลี่ยนแปลงค่ารงควัตถุ  โดยเครื่องมือ  colorimeter)  สามารถบ่งบอกความแตกต่างของการใช้สารเคมีเหล่านี้ได้  ถึงแม้สารเคมีจะไม่ได้มีผลชะลอการสลายตัวของคลอโรฟิลล์  และการสะสมของสารโพรลีนในระหว่างการทดลอง  แต่  gibberellic  acid,  benzyladenine,  O-phenanthroline  และ  2,2-dipyridyl  ไปมีผลต่อการสังเคราะห์โปรตีน  ซึ่งอาจเป็นผลทางอ้อมที่พบในการทดลองครั้งนี้