บทคัดย่องานวิจัย

ผลของวันปลูก วันเก็บเกี่ยวและสภาพการเก็บรักษาต่อปริมาณแอฟลาทอกซินในเมล็ดข้าวโพด

พรรณนิภา ปรัชญา

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2529. 85 หน้า.

2529

บทคัดย่อ

ผลของวันปลูก วันเก็บเกี่ยวและสภาพการเก็บรักษาต่อปริมาณแอฟลาทอกซินในเมล็ดข้าวโพด

                การศึกษาหาปริมาณสารพิษแอฟลาทอกซิน  B1  ในเมล็ดข้าวโพด  กระทำที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา  ในปี พ.ศ. 2527  โดยใช้ข้าวโพดพันธุ์ KSX 2301  วางแผนการทดลองแบบ split polt design  3   ซ้ำ  ศึกษาอายุเมล็ดขณะเก็บเกี่ยว  3 ระยะ  (physiological maturity, field maturity  c]t  delayed harvesting)  และสภาการเก็ลรักษา  5 ลักษณะ  (เมล็ดซึ่งกะเทาะทันทีหลังการเก็บเกี่ยว  เมล็ดที่กะเทาะและเก็บไว้  4 สัปดาห์  เก็บไว้  4 สัปดาห์ในรูปฝัก  เมล็ดที่กะเทาะเก็บไว้ 8 สัปดาห์  และเก็บไว้ในรูปฝัก  8 สัปดาห์)  โดยเก็บไว้ในกระสอบป่าน  ได้กระทำการทดลอง  3 ครั้งคือ  ปลูกในวันที่  8  พฤษภาคม  1  กรกฎาคม  และ  22  สิงหาคม  ตามลำดับ  พบปริมาณแอฟลาทอกซิน B1  ในข้าวโพดที่เก็บไว้สูงสุดเมื่อเก็บเกี่ยวในระยะ field maturity  รองลงมาคือ  ระยะ  physiological matturity  และ  delayed harvesting  ตามลำดับ  ไม่พบแอฟลาทอกซิน  B1  ในข้าวโพดขณะเก็บเกี่ยวจากแปลง  และปริมาณของแอฟลาทอกซิน  พบมากขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บรักษาข้าวโพดไว้  การเก็บเกี่ยวข้าวโพดล่าช้าเป็นผลให้ความชื้นเมล็ดลดลงต่ำ  จึงพบปริมาณแอฟลาทอกซินน้อยมาก  แม้เก็บไว้นานถึง  8 สัปดาห์  การเก็บรักษาข้าวโพดไว้ในรูปฝัก  พบปริมาณแอฟลาทอกซินต่ำกว่าการเก็บในรูปเมล็ดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณแอฟลาทอกซินมากที่สุดคือ  ความชื้นของเมล็ด  ทำให้ไม่พบอิทธิพลของวันปลูกต่อปริมาณแอฟลาทอกซิน  แต่ฤดูปลูกมีอิทธิพลต่อผลผลิตของข้าวโพดโดยที่การปลูกฤดูปลูกปลายฝนให้ผลผลิตต่ำกว่าการปลูกฤดูปลูกต้นฝน